Page Header

The Development of Retail Management Focusing on Store Managers in the Era of Digital Economy

Suriyan Atdet, Teerawuti Boonyasopon, Manas Choopakar

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของผู้จัดการร้านค้าปลีกในปัจจุบัน 2) ศึกษาความต้องการการฝึกอบรมด้านความรู้และทักษะในการบริหารงานธุรกิจค้าปลีกในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และ3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการร้านค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพคือผู้จัดการร้านค้าปลีก จำนวน 5 คน และผู้บังคับบัญชาโดยตรง 5 คน ได้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (มินิบิ๊กซี) เทสโก้ โลตัส แฟมิลี่ มาร์ท และซีเจ เอ๊กซ์เพลส จำนวน 10 คน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้จัดการร้านสะดวกซื้อบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในลักษณะแบบสอบถามปลายเปิดกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย T-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคในการการบริหารงานของผู้จัดการร้านค้าปลีกในปัจจุบัน คือจำนวนพนักงานในร้านสาขาที่มีไม่เพียงพอในการทำงาน ขาดช่องทางทางเทคโนโลยีของบริษัทในการฝึกอบรมและการเรียนรู้ของผู้จัดการร้านค้าปลีก ขาดการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้ผู้จัดการใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน และความยุ่งยากในการจัดการกับพนักงานที่มีอายุแตกต่างกัน 2) ผลการศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพพบว่าผู้จัดการร้านค้าปลีกมีความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองมากที่สุดคือ ด้านการวางแผน รองลงมาคือ ด้านการประสานงาน ด้านการสั่งการและบังคับบัญชา ด้านการควบคุมการทำงาน ด้านการจัดองค์กร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการร้านค้าปลีก กับการพัฒนาตนเองของผู้จัดการร้านค้าปลีก พบว่า ในแต่ละคู่มีความสัมพันธ์กันสูง และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการร้านค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพนั้นฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการร้านค้าปลีกควรให้ความสำคัญกับการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการร้านค้าปลีกให้ตามทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสามารถแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน


Keywords


การพัฒนาศักยภาพผู้จัดการร้านค้าปลีก; การบริหารจัดการร้านค้าปลีก; ผู้จัดการร้านค้าปลีก

[1] Ministry of Digital Economy and Society, "Digital Economy," 2016. [Online]. Available: http://www.digitalthailand.in.th/. [Accessed 4 February 2016]. (in Thai)

[2] Thai Retailer Association, "Retail trends," 2016. [Online]. Available: http://www.thai retailer.com/. [Accessed 4 February 2016]. (in Thai)

[3] H. Fayol, General and industrial management /tr. From Fayol and French, Toronto: Pitman Publishing, 1971.

[4] D. Megginson and M. Pedler, Self-Development: A Facilitator's Guide (McGraw-Hill Training Series), London: McGraw-Hill Book Co., Ltd., 1991.

[5] T. Silcharu, Research and Statistic Data Analysis by SPSS and AMOS. 15th ed., Nonthaburi: S.R. Printing Mass Product Publishing Company Limited, 2014. (in Thai)

[6] C. Sangsodsri, "Self-Developmentof the store manager of thai retail company promoted from operation level: A case study fo Home product center public company limited," Major: Human Resource Management, Burapha University, 2014. (in Thai)

[7] N. Muangjaimet, "Self-Development Needs for Higher Service Quality: Case study of Kbank Receptionists Bangkok," Major: Field :political Science, Department of Political Science and Public Administration. Kasetsart University, 2010. (in Thai)

[8] C. Yaempramoth, “The Need for Self Development of Bangkok Bank Company Limited’s Employees in Samutsongkhram and Samutsakorn provinces,” Master of Arts (Political Science), Major Field: Political Science, Department of Political Science and Public Administration. Kasetsart University, 2009. (in Thai)

[9] C. Kusalasaiyanon, "The Executive Development for E-Marketing Strategy by Knowledge Based for Information Technology of Furniture Industries in Thailand," Major Field: Industrial Business and Human Resource Development King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2012. (in Thai)

[10] T. Boonyasopon, "Development of a Maintenance Management Model for Small and Medium Manufacturing Enterprises Case Study :Air-conditioner Factory," Major Field: Industrial Business and Human Resource Development. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2013. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -