Page Header

Challenges of Mixed-ability Class Management ความท้าทายในการจัดการห้องเรียนแบบคละความสามารถ

วัชรี ไพสาทย์

Abstract


This academic article was written to share some ideas on how to manage a mixed-ability class with effective solutions. Especially in some educational institutes or universities where a class management could not manage to get students in the same levels or learning styles to be in the same classroom due to some reasons. The idea of “multiple intelligences” was raised and discussed. Individual students or learners are known to have different styles of learning preferences. Eight items of this theory are mentioned and explained. The article points out some possible and relevant difficulties, together with challenges in having mixed-ability classes in teaching and learning in various aspects, for example, teaching preparation, materials and resources, teachers’ uncertainty and worry, students’ progress follow-up methods, classroom management, and so on. Then, the theory of “multiple intelligences” has been introduced to help support these possible problems. The multiple intelligence investigation is stated and examples of studies which the theory of multiple intelligences were employed in teaching and learning were shown. The conclusion of this article aims to draw some attention of teachers and relevant stakeholders where a class consists of mixed-ability students to consider some ideas of multiple intelligences to manage the class for better benefit and effective learning of students.

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการห้องเรียนที่มีความหลากหลายของนักศึกษาในด้าน ความสามารถทางภาษา ความสนใจในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และอื่นๆ โดยปกติแล้วหากโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถจัดการเรียนการสอนโดยให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ หรือความ ถนัดในการเรียนรู้ใกล้เคียงกัน ได้เรียนร่วมกันในห้องเรียนเดียวกัน ซึ่งมีแนวโน้มทำให้การวางแผนการสอนของครู หรืออาจารย์ ผู้สอนเป็นไปในทิศทางเดียวกันซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเตรียมการสอนในแต่ละห้องมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในบางสถาบันการศึกษา อาจมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถจัดให้นักเรียน นักศึกษาที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ใกล้เคียงกันมาเรียนร่วมกันได้ ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายในด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้สอนเช่นกัน ดังนั้น การใช้ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) จึงเป็นอีกทางเลือกที่อาจนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา อีกทั้งยังช่วยครู อาจารย์ ในการวางแผนการสอนให้เหมาะสมกับห้องเรียนที่มีนักเรียนนักศึกษาคละความสามารถ ให้ดียิ่งขึ้น ในบทความนี้ได้มีการอภิปรายถึงปัญหาที่มีในการจัดการเรียนการสอนแบบคละความสามารถ (Mixed-Ability) ยกตัวอย่าง ปัญหาต่างๆ ที่มีการพูดถึง เช่น ด้านการเตรียมสอนของครู อาจารย์ ด้านการเตรียมสื่อหรือหนังสือที่ใช้สอน ด้านความวิตกกังวลของครู อาจารย์ผู้สอน ด้านการตรวจติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน นักศึกษา ด้านการจัดการห้องเรียน และอื่นๆ ด้วยปัญหาดังที่กล่าวมา จึงได้มีการนำเรื่องทฤษฎีพหุปัญญามาอภิปรายให้เห็ นถึงประโยชน์และความสำคัญในการ หาแนวทางเพื่อช่วยจัดการห้องเรียนแบบคละความสามารถ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิสูงสุดในการเรียนการสอน


Keywords


ทฤษฎีพหุปัญญา; การเรียนการสอน; การจัดการเรียนการสอนแบบคละความสามารถ; Multiple Intelligence Theory; Teaching and Learning; Mixed-ability classes

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.faa.2020.02.009

Refbacks

  • There are currently no refbacks.