การลดภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเสริมเทคนิคความมั่นคงภายใน : กรณีศึกษานิสิตระดับปริญญาตรี Reduction of Depression and Anxiety Symptoms Using Counseling Service with Stabilization Techniques : Case Study of College Student
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเสริมเทคนิคการสร้างความมั่นคงภายใน (Stabilization Techniques) ในการลดภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าสำหรับนิสิตปริญญาตรี กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม การวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาคต้น ปีการศึกษา 2560 จากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 คน ที่มีภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าตามเกณฑ์การเลือกนิสิตกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบรายกรณี (Case Study) มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินสุขภาพจิต Hopkins Symptom Checklist (HSCL-25) 2) แบบ บันทึกการให้การปรึกษา 3) การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเสริมเทคนิคการสร้างความมั่นคงภายใน และ 4) แบบบันทึกการ สนทนากลุ่ม การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเป็นแบบบรรยาย และใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลแบบประเมิน (HSCL-25) ผลการวิจัยพบว่า ผลของการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเสริมเทคนิคการสร้างความมั่นคงภายใน สามารถลด ภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของนิสิตปริญญาตรีที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาได้ จากการศึกษารายกรณีพบว่าการให้การ ปรึกษาเชิงจิตวิทยาโดยเสริมเทคนิคการสร้างความมั่นคงภายในทั้ง 10 เทคนิคที่นำมาใช้ แต่ละเทคนิคสะท้อนให้เห็นว่า มีผลใน การช่วยลดภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า โดยนิสิตที่เข้ารับการปรึกษานำแต่ละเทคนิคไปปรับใช้ และนำไปรับมือกับปัญหา ที่แตกต่างกันออกไป
The purpose of this study was to study the effect of enhancing Stabilization Techniques with individual
counseling to reduce anxiety and depression for undergraduate students. Targeted to study from
undergraduate students in the academic year of 2017 from a state university in Chatuchak, Bangkok.
Undergraduate students were 5 people. There are anxiety and depression based on the selection criteria
of target students. And the tools used in research are 1) Hopkins Symptom Checklist 2) Progress Note
3) The individual counseling with Stabilization Techniques and 4) Focus group. Descriptive data was analysed
and interpreted. Descriptive statistics analysis was used to compare results (HSCL-25). The results of this
study are effects of individual counseling with stabilization techniques. It can reduce the anxiety and
depression of undergraduate students who have individual counseling. Based on the case study, it was
found that 10 techniques were used in Stabilization Techniques. Each technique reflected the effect of
reducing anxiety and depression. The students in the counseling in each technique adapted the technique
to be applied in their different problems.
Keywords
DOI: 10.14416/j.faa.2020.02.001
Refbacks
- There are currently no refbacks.