การแต่งแร่ด้วยจุลชีวัน
Bio Mineral Processing
Abstract
จุลชีวันถูกนำมาใช้ในงานแต่งแร่ คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์คือ มีชีวิต ไม่ใช้ไฟฟ้า ประหยัด เพาะพันธุ์ได้ สามารถดำรงชีวิตในสภาพเป็นกรดสูง สภาพเปียกชื้น ทนต่อสภาวะพิษของกรดกำมะถัน ในบทความนี้นำเสนอการใช้จุลชีวันแต่งแร่ยูเรเนียมในอินเดีย แพลทินัมและพาลาเดียมในบราซิล ทองคำในออสเตรเลีย ทองแดงในอเมริกา สังกะสีและตะกั่วในปากีสถานและโลหะมีค่าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในขนาดห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของสารพิษจากเหมืองแร่ การแต่งแร่ด้วยจุลชีวันมีข้อดีคือ ราคาถูก การจัดการน้อย ค่าดำเนินการต่ำ การบำรุงรักษาต่ำอนุรักษ์ทรัพยากรแร่จากบ่อทิ้งแร่ ทำงานได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง สามารถประยุกต์เข้ากับการจัดการสิ่งแวดล้อมในเหมืองได้ ส่วนข้อเสียคือ คืนทุนช้า กระบวนการใช้เวลานาน ไม่สามารถหยุดกระบวนการได้ทันที มีความเสี่ยงในการรั่วไหลลงชั้นน้ำใต้ดินแหล่งน้ำสาธารณะ มีบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์
Microbials have been used in biomineral processing field; their useful properties include non-electricity, economy, ability to multiply and to survive the extremely acid environment. Microorganisms can also survive challenging conditions under wet and poisonous sulphur gas. The study was presented the practical utility of biomineral processing such as uranium mining in India, platinum and palladium biomineralisation in Brazil, gold bioleaching in Australia, copper heap leaching in the U.S.A., lead and zinc processing in Pakistan and precious metals extraction from electronic scraps in laboratory operations. This is to propose guidelines for solutions of mine environmental issues. The benefits of operational bioprocesses are reasonable price, low operation and maintenance costs, rehabilitation of minerals from tailings, capacity with a 24-hour day and the application of the environmental management in mining. The disadvantages of adoptions in continuous bio-processing are slowly to pay back on the investment, to take long lasting periods of time and to hardly shut down immediately on the process. Finally, the contaminants may leak out and get into the groundwater resources, some kinds may harm the living creatures.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2017.11.007
ISSN: 2985-2145