การศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการกลยุทธ์โลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการกลยุทธ์โลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลความต้องการจำเป็น แบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปตาม 2 ขั้นตอนหลักได้ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารจัดการกลยุทธ์โลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์พบว่า 1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 36–45 ปีการศึกษาระดับปริญญาตรีมีจำนวนพนักงานในอุตสาหกรรมต่ำกว่า 20 คน เงินทุนจดทะเบียนครั้งแรกและเงินทุนจดทะเบียนปัจจุบันในการประกอบธุรกิจ SMEs ไม่เกิน 25 ล้านบาท ระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจอยู่ระหว่าง 1–5 ปีส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SMEs ขนาดย่อม เป็นลักษณะกิจการค้าส่ง-ค้าปลีก และเป็นกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมมากที่สุด 2) สมรรถนะหลัก ได้แก่ “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” สมรรถนะด้านหน้าที่ ได้แก่ “กฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ” สมรรถนะด้านเทคนิค ได้แก่ “การบริหารงานระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ” ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ขั้นตอนที่ 2 การจัดสัมมนากลุ่ม พบว่า การประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับสมรรถนะด้านหลัก สมรรถนะด้านหน้าที่สมรรถนะด้านเทคนิค กับผลการศึกษาความคิดเห็นในขั้นตอนที่ 1 สมรรถนะที่สำคัญและตรงกันทั้ง 2 ขั้นตอน มีดังนี้สมรรถนะหลัก “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” สมรรถนะด้านหน้าที่ “กฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ” และสมรรถนะด้านหน้าที่ “การบริหารงานระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ”
The purposes of this research were to study the competencies of SME entrepreneurs in Thailand in terms of the e-logistic strategy. The research and development method was applied. The sample of this study was 400 SME entrepreneurs in Bangkok, Thailand. The instruments were a needs assessment and questionnaire. The results of the study were as follows. In method 1, the study of the competencies of SME entrepreneurs regarding the e-logistic strategy revealed the following. 1) Most of the SME entrepreneurs were aged 36–45 years and held a bachelor’s degree. The number of employee was fewer than 20. The beginning and current listed fund was less than 25 million baht. The period of operation was 1–5 years. Most of the SMEs were in small-size organizations of the wholesale-retail and industrial goods business groups. 2) The core competency was “human resource management,” the functional competency was “international transportation law,” and the technical competency was the most needed “international logistic system management”. In method 2, from the focus group seminar, the most important competencies, congruous in both Method 1’s results and in the specialists’ evaluation for the core competency, the functional competency and the technical competency, were: the core competency “human resource management”, the functional competency “International transportation law”, and the technical competency “international logistic system management”.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2016.04.002
ISSN: 2985-2145