Page Header

การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ

สุชาดี ธำรงสุข, วันชัย แหลมหลักสกุล, สมนึก วิสุทธิแพทย์

Abstract


การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตเครื่องปรับอากาศโดยมุ่งเน้นลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการผลิตที่มากเกินความจำเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น การเลื่อนย้ายสิ่งของที่ไม่จำเป็น การรอคอยที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงการที่ต้องใช้พื้นที่หน้างานมากขึ้นเพื่อวางสิ่งของในการผลิต เริ่มจากการทำการศึกษากระบวนการประกอบเครื่องปรับอากาศที่มียอดการผลิตสูงสุด และจัดทำการวิเคราะห์หาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสายการประกอบเครื่องปรับอากาศ โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System: TPS) และสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping: VSM) วิเคราะห์กระบวนการและเวลา จากนั้นนำมาปรับปรุงโดยการทำกิจกรรม TPS ปรับความสมดุลของปริมาณงานให้มีรอบเวลางานที่ใกล้เคียงกับการกำหนดรอบเวลาการผลิตโดยทำให้เวลานำ (Lead Time) สั้นที่สุดและใช้คนน้อยที่สุดผลจากการศึกษาพบว่าเวลานำในการส่งมอบชิ้นส่วนให้ลูกค้าลดลง 33 เปอร์เซ็นต์พื้นที่เพิ่มขึ้นสำหรับการใช้งาน 83 เปอร์เซ็นต์และพนักงานในกระบวนการผลิตลดลง 42 เปอร์เซ็นต์

คำสำคัญ: ความสูญเปล่า กระบวนการผลิต โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ

The objectives of this research were to investigate the problems of wastefulness during the air conditioner manufacturing process and to improve the manufacturing process focusing on reducing the wastefulness of overproduction, unnecessary movement of people and objects, waiting time, and placing unnecessary raw materials on operation space. Firstly, the investigation was on the air conditioner assembly process with the top manufactured products which was then analyzed to find the guideline in increasing the efficiency of the production line. The Toyota Production System (TPS) and the Value Stream Mapping (VSM) were applied and analyzed on the process and the production time. The results were then adjusted with TPS activities to balance workload by getting operation cycle closed to production cycle time by minimizing lead-time and workforce. The results revealed that product delivery time was reduced by 33%, operation space increased by 83% and production workforce was reduced by 42%.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2015.12.004

ISSN: 2985-2145