Page Header

การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์; จากพิมพ์ดีด สัมผัสจอ และสั่งงานด้วยเสียง ไปสู่ กริยาท่าทาง
Human & Computer Communication from Typing, Screen Touch, and Speech to Gesture

Kosin Chamnongthai

Abstract


มนุษย์สามารถออกเสียงที่ซับซ้อน พูดคุยด้วยภาษาต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันได้ ซึ่งต่างจากสัตว์ที่ไม่สามารถพูดคุยและแสดงความรู้สึกอย่างละเอียดอ่อนและซับซ้อนได้ เสียงมนุษย์ซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณที่ประกอบด้วยสารสนเทศสามารถส่งจากคนหนึ่งไปยังคนอื่นในระยะใกล้ได้ สัญญาณเหล่านี้อยู่ในย่านความถี่ต่ำ มีพลังงานน้อย ไม่สามารถส่งผ่านตัวกลางที่เป็นบรรยากาศของโลกแล้วสะท้อนไปที่ไกลๆ ได้ ต่อมามนุษย์มีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันในระยะที่ไกลขึ้น จึงเกิดความต้องการเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางไกล การสื่อสารทางไกลที่เรียกว่า โทรคมนาคมได้เริ่มขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยการนำสัญญาณที่อยู่ในย่านความถี่สูงที่สามารถส่งผ่านบรรยากาศไปในระยะไกลมาเป็นสัญญาณพาห์ (Carrier) เพื่อเป็นพาหะส่งสารสนเทศไปที่ไกลๆ ในเวลานั้นมนุษย์คิดค้นเทคนิคการสอดแทรกสารสนเทศลงในสัญญาณพาห์ที่เรียกกันว่า “มอดดูเลชั่น (Modulation)” หรือ “การกล้ำสัญญาณ” ในรูปแบบต่างๆ เช่น AM, FM, PM เป็นต้น ทำให้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณไปสู่แดนไกลเกิดเป็นจริงขึ้น เมื่อมนุษย์สามารถส่งสารสนเทศโดยสัญญาณดังกล่าวไปยังมนุษย์ในที่ต่างๆ ที่อยู่ไกลในโลกนี้ได้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการสื่อสารจึงเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ กิจการวิทยุ กิจการโทรทัศน์ เป็นต้น

[1] S. Yeamkuan and K. Chamnongthai, “3D point-of-intention determination using a multimodal fusion of hand pointing and eye gaze for a 3D display,” SENSORS, vol. 21, pp. 1–31, 2021.

[2] S. Yeamkuan, K. Chamnongthai, and W. Pichitwong, “A 3D point-of-intention estimation method using multimodal fusion of hand pointing, eye gaze and depth sensing for collaborative robots,” IEEE Sensors Journal, vol. 22, no. 3, pp. 2700–2710, 2022.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2023.03.005

ISSN: 2985-2145