การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับกระบวนการตรวจรับและการควบคุมกระบวนการสอบกลับของวัตถุดิบขาเข้า กรณีศึกษา: โรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน
Abstract
บทคัดย่อ
กระบวนการสอบกลับได้และกระบวนการจัดการเอกสารถือเป็นส่วนที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบินความท้าทายอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมการบินคือการจัดการกับเอกสารที่มีปริมาณมาก ซึ่งองค์กรมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินสำหรับกระบวนการสอบกลับ โรงงานกรณีศึกษาประสบปัญหาเรื่องความผิดพลาดของการบันทึกข้อมูลในกระบวนการตรวจรับวัตถุดิบขาเข้าขาดประสิทธิภาพในด้านความถูกต้องของบันทึกภายหลังการตรวจรับ พบความผิดพลาดของบันทึก 25.65 เปอร์เซนต์ งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยปรับปรุงความถูกต้องของบันทึกภายหลังกระบวนการตรวจรับวัตถุดิบขาเข้า โดยการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมไมโครซอฟท์แอคเซสถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดทำฐานข้อมูลการตรวจรับวัตถุดิบและประมวลผลติดตามสถานะของวัตถุดิบทั้งหมดในกระบวนการตรวจรับวัตถุดิบขาเข้า ซึ่งผลการปฏิบัติงานระบบใหม่โดยใช้โปรแกรมที่เขียนขึ้นพบว่าผลการสอบกลับบันทึกการตรวจรับวัตถุดิบขาเข้า ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2557 จำนวน 304 ตัวอย่าง ไม่พบความผิดพลาดของบันทึกจากกระบวนการตรวจรับวัตถุดิบขาเข้า แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในระดับดี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานและสามารถแก้ไขปัญหาการทำงานในหน่วยงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
คำสำคัญ: กระบวนการตรวจรับวัตถุดิบขาเข้า กระบวนการสอบกลับได้ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ
Abstract
Traceability and Document Control take a major role in the aerospace industry. One of the major challenges in aerospace industry company is its ability to control large volumes of documents and records, which supports tracing back of manufacturing processes involved in making aerospace components. A case study in a factory shows error in record control within incoming materials receiving and verification procedures. Lack of ability to prove correctness of involved records resulted in 25.65% non-conformity on record control. The objective of this research is to improve correctness of records as well as status tracking of incoming materials. The system is developed by using Microsoft Access as a tool for compiling databases and generating reports. Through implementation, 304 records were sampled and traced. The developed program demonstrates significant improvement within receiving and verifying incoming material process during the period of October to December 2014, eliminating existing erroneous states in record control. Therefore, it can be concluded that the developed program works effectively and achieves its objective.
Keywords: Receiving and Verifying Incoming Materials, Traceability and Document Control, Database Management System
ISSN: 2985-2145