Page Header

การวางแผนการผลิตที่เหมาะสมของโรงงานเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อการผลิตอ้อยโดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม

ชัยมงคล ลิ้มเพียรชอบ, ประเทือง อุษาบริสุทธิ์

Abstract


บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีการส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตรไปในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นจำนวนมาก เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อการผลิตอ้อยเป็นหนึ่งในเครื่องจักรกลที่มีการส่งออกที่สูง โรงงานผลิตและประกอบกว่าร้อยละ 80 เป็นโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่ประสบปัญหาในเรื่องการวางแผนการผลิตและประกอบชิ้นส่วนโดยในการผลิตจะมีชิ้นส่วนบางชิ้นต้องผ่านกระบวนการบางกระบวนการก่อนถึงจะประกอบชิ้นส่วนเหล่านี้ได้ การขาดการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะทำให้มีบางชิ้นส่วนผลิตไม่ทัน หรือผลิตเกินความต้องการ ทำให้มีชิ้นส่วนคงค้างอยู่ในแต่ละกระบวนการเป็นผลให้เกิดต้นทุนทางด้านวัสดุคงคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการประยุกต์ใช้การสร้างแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก คือ คำนึงถึงในด้านการวางแผนการผลิตและประกอบ เพื่อให้ทางโรงงานสามารถสั่งซื้อชิ้นส่วน การจัดสมดุลสายการผลิตและประกอบ ให้สอดคล้องกับเวลา และปริมาณอุปสงค์ของลูกค้า เครื่องมือที่นำเสนอสามารถช่วยในการวางแผนและตัดสินใจของโรงงานผลิตในการวางแผนการผลิตให้มีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้แบบจำลองมีต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรวมต่ำกว่าที่บริษัทดำเนินการอยู่ถึง 14.81%

คำสำคัญ: การวางแผนการผลิต เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อการผลิตอ้อย แบบจำลองเชิงเส้นตรงผสมจำนวนเต็ม

Abstract

Many types of agricultural machine were produced in Thailand and exported to ASEAN countries. One of them that have a high volume of exports is machinery for sugarcane production. More than 80 percent of manufacturing and assembly factories are small and medium enterprises that are often facing problem in production and assembly planning. Some parts of the machinery need to pass through a certain production process before assembly causing a complexity in planning. Therefore, a lack of effective planning will cause problems such as lack of parts for assembly or left over parts remain in the process, resulting in a cost of inventory. To solve this problem, a mixed-integer linear programming was applied to solve production and assembly planning problems in the sugarcane machinery production. The main objective is to schedule part orders with manufacturing and assembling processes under time and demand constraints. This proposed tool can help in planning decision making to minimize manufacturing cost. The result shows that the model contributes to reduction of the total operation cost by 14.81%.

Keywords: Production Planning, Sugarcane Machinery, Mixed-integer Linear Programming


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145