Page Header

การระบุกลไกการวิบัติแบบอาร์คในดินเหนียวอ่อนที่อยู่หลังกำแพงเสาเข็มรูปตัวแอลตอกเรียงต่อเนื่องด้วยแบบจำลองกายภาพ

วรายุทธ ไชยสุข, พรพจน์ ตันเส็ง, วิษณุ คงสมพจน์

Abstract


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการทดสอบแบบจำลองกายภาพแบบย่อส่วนเพื่อระบุกลไกการวิบัติของดินระหว่างกำแพงเสาเข็มรูปตัวแอลที่ตอกเรียงต่อเนื่อง ระยะห่างระหว่างเสาเข็มที่ใช้ทดสอบอยู่ในรูปของอัตราส่วนระหว่างช่องเปิดต่อความกว้างของเสาเข็ม (Sg /B) ได้แก่ 0.1 ถึง 3.0 ในการทดสอบได้ใช้ดินเหนียวอ่อนแบบคงสภาพจากการขุดเปิดหน้าดินแปลงทดสอบที่อยู่จังหวัดสมุทรปราการ การทดสอบกระทำบริเวณใกล้กับจุดเก็บตัวอย่างเพื่อลดการรบกวนตัวอย่างแบบจำลองเสาเข็มตัวแอลแบบย่อส่วนได้รับแรงกระทำโดยใช้แม่แรงชนิดให้แรงกระทำแบบสม่ำเสมอจนแบบจำลองวิบัติในระหว่างทดสอบมีการบันทึกภาพการเคลื่อนตัวของดินระหว่างการให้แรงกระทำ จากภาพถ่ายสามารถระบุการเคลื่อนตัวของดินได้จากลูกปัดที่ติดตั้งไว้บนผิวหน้าดินก่อนการทดสอบผลการทดสอบชี้ให้เห็นว่าแรงวิบัติต่อกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ (Ph /Su) แปรผกผันกับอัตราส่วนช่องเปิดต่อความกว้าง (Sg /B) โดยมีความสัมพันธ์แบบไฮเปอร์โบลา แรงวิบัติที่ได้จากการทดสอบทางกายภาพของเสาเข็มแอลมีค่าต่ำกว่าแรงวิบัติของเสาเข็มกลมที่เสนอโดยวินิต์ [9] เนื่องจากรูปร่างของอาร์คแตกต่างกัน ภาพถ่ายของตัวอย่างทดสอบขณะเกิดการวิบัติจะเห็นอาร์คอย่างชัดเจนเมื่อ Sg /B มีค่าระหว่าง 0.1 ถึง 1.2 และไม่เห็นอาร์คอย่างชัดเจนเมื่อ Sg /B มีค่าระหว่าง 1.6 ถึง 3.0

คำสำคัญ: กำแพงกันดิน เสาเข็มตัวแอลแบบจำลองทางกายภาพ ดินเหนียวอ่อน งานขุดดิน

Abstract

This paper presents physical model tests to verify the failure mechanism of soil behind the gap of contiguous L-pile retaining wall used to support the excavation in soft clay. The ratio of pile gap to pile width (Sg /B) of 0.1, 0.3, 0.5, 0.7, 1.2, 1.6, 2.0, and 3.0 was used. The undisturbed soft clay samples were obtained from an open cut in Samutprakarn province. The physical model tests were conducted in the vanity of the soil sampling area to avoid the effect of sample disturbance. The pressures were applied to the physical model using screw jack until the failure of soil between the L-piles was observed. The digital photos of soil movement were recorded during the test to monitor the failure mechanism. The test results show that the normalized failure pressures reduce as the gap width ratio (Sg /B) increases. The failure pressure of L-pile is lower than that of circular pile proposed by Winit [9] due to soil arching size. The failure arches are clearly observed in the model with Sg /B of 0.1–1.2, but not with Sg /B of 1.6–3.0.

Keywords: Retaining Wall, L-section Pile, Physical Model, Soft Clay, Excavation

Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145