การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดและผลกระทบสำหรับระบบการทวนสอบปริมาณการผลิตในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา: กรณีศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ
โรงงานแปรรูปไม้ยางพารามีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายตามขนาดผลิตและระดับคุณภาพมักประสบปัญหาด้าน การจัดการข้อมูลการผลิตให้แม่นยำจึงส่งผลต่อความผิดพลาดด้านการส่งมอบและการจัดการต้นทุนแรงงานต่อหน่วยผลิตงานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพระบบการทวนสอบปริมาณการผลิตเพื่อปรับปรุงระบบการทวนสอบของโรงงานแปรรูปไม้ยางพารากรณีศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดและผลกระทบตามหลักของการจัดการความเสี่ยงจากการวิจัยพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งกระทบต่อระบบการทวนสอบอย่างสำคัญ ได้แก่ พนักงาน สภาพแวดล้อม วิธีการ และวัตถุดิบ จากปัจจัยหลัก สามารถกำหนดวิธีแก้ไขปรับปรุงด้วยแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการข้อมูลการผลิต การพัฒนาระบบ การตรวจนับ การปรับปรุงแผนผังการจัดวางและการไหลของชิ้นงาน และการปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงาน เมื่อได้ ปรับปรุงตามแนวทางแล้วทำให้ค่าความเสี่ยงลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยลดลงจาก 5,983 เหลือ 2,792 คะแนน หรือเทียบเป็น 53.3% ของความเสี่ยงรวมสำหรับเหตุการณ์ความเสี่ยง 16 จาก 21 เรื่องที่ได้ปรับปรุงการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพของระบบการทวนสอบปริมาณการผลิตยังส่งผลให้ค่าความคลาดเคลื่อนเปรียบเทียบระหว่างกระบวนการลดลงจากร้อยละ 5.24 เหลือ 2.29 หรือเทียบเป็น 56.3% ของค่าคลาดเคลื่อนก่อนการปรับปรุง
คำสำคัญ: การวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดและผลกระทบ การทวนสอบปริมาณการผลิต ไม้ยางพาราแปรรูป
Abstract
Rubberwood Processing Manufacturing, which has various types of products depended on size and quality level of wood, normally has major problem in precision production data management. An inaccuracy production data always makes difficulties for scheduling; and managing labor cost per unit. This research was concerned with an application of Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) technique to find out factors affecting to the production quantity verification system. The research was attempted to reduce those factors; in other word, it was aimed to improve efficiency for the verification system. It was found that four factors are significant; human, workplace, processing method and raw material. Thus, four improving methods were considered; developing the information technology, developing a counting method, improving the material flow and storage area and changing works process for supporting the quantity verification system. The result was proposed as Risk Priority Number (RPN) decrease from 5,983 to 2,792 or reduced 53.3% by covering 16 from 21 effects of failure. In addition, the verification system was more efficiently by reducing of discrepancy data or percentage of error in production quantity from 5.24 to 2.29 or by 56.3%.
Keywords: Failure Mode and Effect Analysis, FMEA, Quantity Verification, Rubberwood Processing
ISSN: 2985-2145