การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าทั้งในส่วนของทัศนคติและปัจจัยพื้นฐานของประชาชนผู้พักอาศัยไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากสถานีรถไฟฟ้า(รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร) โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 500 ตัวอย่างถูกสัมภาษณ์ ผลการสำรวจด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ การใช้พาหนะอื่นๆ มีความสะดวกมากกว่า ควรมีป้ายสัญลักษณ์บอกเส้นทางจักรยาน และมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุในส่วนของการวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน ได้มีการทดสอบตัวแปรพื้นฐานต่างๆ เพื่อสร้างแบบจำลองการถดถอยมัลติโนเมียลโลจิสติกส์เพื่อการพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าฯ โดยการหาตัวแปรที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาแบบจำลองฯ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบว่า ไม่มีตัวแปรใดเลยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ผลสรุปที่ได้จากการศึกษาทั้งในส่วนของทัศนคติและปัจจัยพื้นฐานของประชาชนสามารถเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพื่อการรณรงค์ของภาครัฐในการให้ประชาชนหันมาใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าเพื่อการเดินทางให้มากขึ้น งานวิจัยในอนาคตควรเน้นเรื่องการเพิ่มตัวแปรอื่นๆนอกเหนือจากตัวแปรที่ได้แสดงในบทความนี้เพื่อหาความสัมพันธ์ของความน่าจะเป็นในการใช้จักรยานของประชาชนเพื่อการพัฒนาแบบจำลองฯ ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และพยากรณ์โอกาสความน่าจะเป็นที่ประชาชนจะเลือกใช้จักรยานได้ในอนาคตต่อไป
คำสำคัญ: การใช้จักรยาน ระบบรถไฟฟ้าแบบจำลองการถดถอยมัลติโนเมียลโลจิสติกส์
Abstract
This paper presents an analysis of factors affecting for a decision on bicycle access to Mass Transit Electric Rail Systems in Bangkok Metropolitian area. Attitudes and fundamental factors of those living within 5 km from BTS and MRT stations were investigated. Interviews were conducted with a sample of 500 people. The top 3 findings are revealed as follows: other types of vehicles are more convenient; bicycle paths and signs for bicycle facilities are required; and bicyclists face a higher risk of crash-related injury. In a part of analysis of fundamental factors, there is a test of variables to construct a multinomial logistic regression model to forecast the probability of people’s option of bicycle for access to Bangkok Metropolitan Administration (BMA) mass rapid transit system. Multiple independent variables were determined in developing the model. However, no explanatory variables were found to be significant factors influencing the level of bicycle use in this regard. The outcomes somehow benefit further campaign planning that encourages bicycle access to transit. For possible future research directions, the model can be expanded by adding more diverse relevant variables in order to improve forecasting efficiency of the topic.
Keywords: Bicycle Use, Mass Transit Electric Rail Systems, Multinomial Logistic Model
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2015.09.003
ISSN: 2985-2145