การพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานอำนวยการสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล
Development of the Administrative Office Management Model for Automotive Parts Industry in Digital Era
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารสำนักงานอำนวยการสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานอำนวยการสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการบริหารสำนักงานอำนวยการอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 9 คน และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 301 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการบริหารสำนักงานอำนวยการสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และมี 18 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) ด้านวางแผน ( X ̅ = 3.85) มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่การวางแผนกลยุทธ์ การวางแผนงบประมาณ การวางแผนความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และการบริหารความผลิกผันทางดิจิตอล 2) ด้านการจัดองค์การ (X ̅ = 3.67) มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การจัดโครงสร้างองค์กร การจัดการอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ การจัดการนวัตกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงสำนักงานอำนวยการ 3) ด้านการสั่งการ (X ̅ = 3.81) มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ บทบาทผู้บริหาร และการใช้ช่องทางเทคโนโลยีดิจิทัลใน การสื่อสาร และการกระจายอำนาจการบังคับบัญชา 4) ด้านการประสานงาน (X ̅ = 3.59) มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล การสร้างความร่วมมือร่วมใจในองค์กร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งข้อมูล 5) ด้านการควบคุมการทำงาน (X ̅ = 3.65) มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การรักษาความลับของข้อมูล การติดตามประเมินผลงานให้ได้มาตรฐาน การควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และการดำเนินงานและการพัฒนางานด้วยระบบดิจิทัล โดยรูปแบบของการบริหารสำนักงานอำนวยการสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล ได้รับการลงมติเห็นชอบในการประชุมสัมมนากลุ่มย่อยด้วยมติเป็นเอกฉันท์ด้านความเหมาะสมในการนำไปใช้ และผลการจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการบริหารสำนักงานอำนวยการสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 และเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้
The purposes of this research were 1) to study the essential components in relation to the Development of the Administrative Office Management Model for Automotive Parts Industry in the Digital Era; 2) to improve the aforementioned model; 3) to create a relevant user manual. The sample group consists of 9 experts for the in-depth interview and 301 respondents. The research instruments were interviews and questionnaires whereas statistical measures to analyze data include the mean, standard deviation, and Exploratory Factor Analysis (EFA). As results, constituent elements of the Administrative Office Management incorporate 5 main factors and 18 sub factors: 1) Planning competency (X = 3.85) consisting of 4 sub factors, i.e. strategic planning, budget planning, business risk planning and digital disruption planning; 2) Organizing competency (X = 3.67) consisting of 4 sub factors i.e. organizational structure, authority and responsibility, Electric Vehicle innovation management, and office automation; 3) Command abilities (X = 3.81) consisting of 3 sub factors, i.e. executive roles, the use of digital technology channels in communication and decentralized command; 4) Coordination skills (X = 3.59) consisting of 3 sub factors, i.e. effective communication information transfer, fostering a cooperative culture, and digital data communication; and 5) Operation control expertise (X = 3.65) consisting of 4 sub factors, i.e. information security, monitoring and evaluation to meet standards, operating cost control, and digital technology-based operations and development. The abovementioned model was approved by the experts and scholars in the focus group seminar with unanimous resolution regarding the appropriateness of its application. Suitability assessment of the developed manual for further application reaches the highest possible evaluation as it obtains a 100 percent rating.
Keywords
[1] The Thai Automotive Industry Association. (2018, December). Thailand Automotive Statistics [Online] (in Thai). Available: https:// taia.or.th/statistics/december-2018/
[2] Kasikorn Research Center . (2017, January). Thai SMEs keep pace with the automotive Trend Is it the 4.0 era?. [Online] (in Thai). Available: https:// www.kasikornbank.com/th/business/ sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/ Pages/Thai-Automotive_4-0.aspx
[3] B. Pavinee, “Concept of organizing office automation management systems in SMEs,” Information Technology Journal, vol. 4, no. 7, pp. 68–72, 2009 (in Thai).
[4] M. Brodie, “Henri Fayol: Administration industrielle et générale — a re-interpretation,” Public Administration, vol. 40, pp. 311–317, 1962.
[5] H. Koontz and C. O’Denell, Principle of Management: An Analysis of Management Function, 5th ed. McGraw-Hill, 1982.
[6] P. Niammanee and W. Attheerawong, “Analysis of factors affecting the supply chain risks in the automotive industry,”Nida, Bangkok, Thailand, 2013 (in Thai).
[7] J. Chootakul, T. Boonyasopon, S. Wisuttipaet, and S. Siengchin, “The development of business administration model of processing Thailand’s integrated circuits industry toward the smart electronics industry,” The Journal of KMUTNB, vol. 31, no. 1, pp. 169–179, 2021, (in Thai).
[8] N. Vichai, Modern Management, 8th ed. Bangkok: Triple Group Printing, 2013 (in Thai).
[9] T. Bunyasophon and W. Chalermchirawa, Principles of Industrial Management. Bangkok: Thai Wattana Panich, 1994 (in Thai).
[10] R. Soontornwipat, S. Wisuttipaet, T. Boonyasopon, and P. Attawinijtrakan, “Competency framework”development for managerial personnel within the modern automotive industry,” The Journal of KMUTNB, vol. 30, no. 3, pp. 547–555, 2020 (in Thai).
[11] S. Navi, Administration Management. Bangkok: Dok Ya, 1995, pp. 202 (in Thai).
[12] P.Phanwichien, Personnel Management. Bangkok: Suwannasana, 1987 (in Thai).
[13] S. Khanthhat, Organization and Management. Bangkok: Aksorn Bundit, 1988 (in Thai).
[14] S.Ratchakulchai, Management Planning and Control. 4th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2004 (in Thai).
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2022.07.006
ISSN: 2985-2145