แนวทางการออกแบบบ้านพักอาศัยชั่วคราวระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับการบรรเทาภัยพิบัติในประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนของประชาชน ส่งผลให้ผู้ประสบภัยต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมหรือสร้างที่พักอาศัยใหม่ จึงมีความจำเป็นในการจัดเตรียมที่พักอาศัยชั่วคราว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น อาคารโรงเรียน วัด หรือการใช้เต็นท์ผ้าใบติดตั้งบนพื้นที่โล่ง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาตัวแปรต่างๆได้แก่วิธีการก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ระบบประสานทางพิกัด ระบบรอยต่อรวมทั้งการศึกษาวิถีชีวิตและความสามารถในการใช้อุปกรณ์การก่อสร้างของผู้ประสบภัย เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบที่พักอาศัยชั่วคราวระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป และการก่อสร้างที่พักอาศัยต้นแบบขนาดเท่าจริงเพื่อประเมินประสิทธิผลในด้านต่างๆของอาคาร ผลการศึกษาพบว่าการใช้ระบบผนังสำเร็จรูปเป็นโครงสร้างหลักในการก่อสร้างอาคารชั้นเดียวสามารถลดจำนวนชิ้นส่วนประเภทเสาและคาน ซึ่งทำให้ขนย้ายและติดตั้งได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้การติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ผนังและหลังคาเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย ผลการศึกษานี้นำไปสู่การเสนอแนวทางออกแบบที่พักอาศัยชั่วคราวระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับการบรรเทาภัยพิบัติในประเทศไทย
คำสำคัญ: การออกแบบ ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ที่พักอาศัยชั่วคราว ภัยพิบัติการฟื้นฟู
Abstract
Natural disasters cause damage to peopleʼs homes. As a result, the victims have to spend a lot of time to repair or build new houses. Therefore, it is necessary to provide temporary accommodation for them, which is mainly held in public areas such as school, temple, or a canvas tent on the ground. This research aims to study various parameters including prefabrication construction methods, modular coordination systems, structural connections, and also the victims’ life style and their ability to use the construction equipment. These lead to the applications of the design of temporary prefabricated houses and the construction of the full-scale prototype building to evaluate the performance of various aspects. The results show that the use of wall panel structure in the construction of one-storey building can reduce the number of parts of beams and columns, which can be easily transported and assembled in a very short time with less labor. In addition, the installation of insulation materials for wall panel and roof is an important factor for the hot-humid climate in Thailand. The results of the study lead to the proposed design guidelines on temporary prefabricated housing for disaster relief in Thailand.
Keywords: Design, Prefabrication, Temporary House, Disaster, Rehabilitation
ISSN: 2985-2145