Page Header

การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในด้านอาชีวศึกษา จากครูผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สุริโยทัย สุปัญญาพงศ์, มนต์ชัย เทียนทอง, ไพโรจน์ สถิรยากร

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมรูปแบบการจัดการความรู้ ในด้านอาชีวศึกษา จากครูผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเพื่อหารูปแบบการจัดการความรู้ด้วยเทคนิคเดลฟาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมได้แก่ บุคลากรที่เป็นทีมจัดการความรู้ (KM Team) ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4 ภาค รวม 12 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 39 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ พบว่ามีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ จากองค์ประกอบหลักสามารถพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดการจัดการความรู้ ประกอบด้วยโมดูลหลัก จำนวน 2 โมดูล ได้แก่ System Module และ Factor Module 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม รูปแบบการจัดการความรู้ ในด้านอาชีวศึกษา จากครูผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ผลการวิจัย พบว่าผลคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ จำนวน 4 หน่วย เฉลี่ยร้อยละ 82.21/81.20 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80/80 และผลคะแนนจากการประเมินภาคปฏิบัติ เฉลี่ยร้อยละ 92.87 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75 นอกจากนี้ยังพบว่า ทีมจัดการความรู้มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินผลผลิต ทีมจัดการความรู้สามารถจัดการความรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้ในระดับดี กระบวนการ/วิธีการจัดการความรู้มีความเหมาะสมในระดับมาก และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ มีความพึงพอใจผลการจัดการความรู้ในระดับมาก

คำสำคัญ: การจัดการความรู้ในด้านอาชีวศึกษา ครูผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น ชุมชนนักปฏิบัติ

Abstract

The purposes of this research and development were to: 1) develop and evaluate vocational knowledge management model 2) develop and evaluate efficiency of the training model on vocational knowledge management from local experts through information and communication technology. The research target group joined Delphi Technique to develop a knowledge management model consisting of 19 local experts while the target group evaluated the training course efficiency which consisted of 39 KM teams of 12 educational institutes under the Office of Vocational Education Commission from 4 regions. The results can be concluded as follows. 1) There are 6 main aspects of the vocational knowledge management model from local experts through information and communication technology. These 6 aspects were developed into a knowledge management model with 2 main models: System module and Factor module. 2) Evaluation of the training model on vocational knowledge management model from local experts through information and communication technology. The results can be concluded as follows, the scores of the exercise and the achievement test of 4 learning units were at the average of 82.21/81.20 higher than the set criteria at 80/80. The result of the practical part was 92.87 higher than the set criteria at 75%. Furthermore, the management team reported their opinions on this training course at the very high level. The product evaluation of KM team revealed that the developed model can be applied at high level. The appropriateness of the knowledge management method was at the high level. Finally, personnel related in the KM of each level reported their opinions at the higher.

Keywords: Vocational Knowledge Management, Local Experts, Community of Practice (CoP)


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145