การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอยในยุคดิจิทัล
Development of Gemstone Entrepreneur’s Potential Model in the Gemstone Industry in the Digital Age
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบบูรณาการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมพลอย จำนวน 5 คน 2) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย จำนวน 470 คน 3) กลุ่มผู้ประเมินรูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย ได้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลอย จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมพลอย แบบสอบถามศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย และแบบประเมินรูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินรูปแบบศักยภาพของผ้ปู ระกอบการในอุตสาหกรรมพลอยใช้การประเมินด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Ratio; CVR) ผลการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญในระดับมากที่สุด 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความสามารถด้านอุตสาหกรรมพลอย 2) ด้านคุณลักษณะของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย 3) ด้านการบริหารงานในอุตสาหกรรมพลอย และ 4) ด้านพฤติกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอย และการประเมินรูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอยจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (CVR) ในด้านความเหมาะสมของรูปแบบศักยภาพอยู่ที่ 1.0 โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 9 คน เห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์ในภาพรวมว่ารูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอยนั้น มีความเหมาะสม
This research aimed to 1) study the significant factors of the gemstone entrepreneur’s potential in the gemstone industry, and 2) develop a model of gemstone entrepreneur’s potential in the gemstone industry. The study was an integrated research of quantitative and qualitative approach. The informants for data collection consisted of 1) the 5 gemstone industrial experts for in-depth interview; 2) a group of 470 gemstone entrepreneurs in gemstone industry for answering the questionnaire; and 3) the 9 experts of related in the gemstone industry. The research tools were in-depth interview questions, questionnaire, and an evaluated form for the model verification. The in-depth interview data were analyzed by content analysis. The questionnaire data were analyzed by frequency, mean and standard deviation. The verifying data were analyzed by content validity ratio (CVR). The results found that the model composed of 4 essential factors, ranked at the highest level. They were: 1) Knowledge and competence in gemstone industry; 2) Characteristics of gemstone entrepreneur in the gemstone industry; 3) Gemstone industrial management; and 4) Behaviors of the gemstone entrepreneur in the gemstone industry. The model was verified by the experts of related in the gemstone industry found that received unanimous agreement from 9 experts for its appropriateness as a gemstone entrepreneur’s potential model in the gemstone industry at 1.00 CVR.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.10.003
ISSN: 2985-2145