Page Header

ผลกระทบของอุปสรรคในงานก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน: กรณีศึกษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

สุริโย บุมี, วรรณวิทย์ แต้มทอง

Abstract


บทคัดย่อ
งานก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงเพราะเป็นงานใต้ดิน หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อเวลาในการดำเนินการของโครงการและต้นทุนและทำให้กระบวนการทำงานขาดความต่อเนื่อง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงาน การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์ผลกระทบและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นขณะดำเนินการก่อสร้าง โดยนำเสนออุปสรรคในงานดันท่อร้อยสายจากบ่อพัก MH.13 ไปบ่อพัก MH.12 ช่วงสถานีเตาปูนความยาว 131 เมตร หลังจากเริ่มทำการดันท่อร้อยสายได้ 62 เมตร พบอุปสรรคไปชนท่อเหล็กของสำนักงานระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 1.50 เมตรระดับความลึก -4.00 เมตรจากระดับผิวจราจรซึ่งเป็นระดับเดียวกับความลึกหลังท่อร้อยสาย จึงได้ทำการแก้ไขปัญหาอุปสรรคโดยการก่อสร้างบ่อชั่วคราวเพื่อกู้หัวเจาะ และก่อสร้างบ่อพักเพิ่มเติม 2 บ่อ ที่ระดับหลังท่อ -6.00 เมตร จากผิวจราจร เพื่อเชื่อมต่อระหว่างบ่อพักที่สร้างขึ้นเพิ่มเติมจากแผนเดิม โดยมีความยาวช่วงแก้ไขงาน 15 เมตร ผลิตภาพในงานดันท่อร้อยสาย 6.90 เมตรต่อวัน เมื่อพบอุปสรรคและทำการแก้ไข ต้องใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นจำนวน 5,470,423 บาท คิดเป็นร้อยละ 88.08 ของมูลค่างานเดิม 6,210,486 บาท

คำสำคัญ: การจมบ่อพัก การดันท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ผลิตภาพในงานดันท่อร้อยสายใต้ดิน

Abstract

Constructing underground manholes and electrical conduits has a high risk of longer period of time and additional cost of construction project due to an unexpected occurrence. The study focused on analyzing the effects of obstacles on construction and the solutions to the problem. The 131-metre-long electrical conduit between Manhole 13 (MH 13) and Manhole 12 (MH 12) near Taopoon station was studied. After pipe jacking the conduit for 62 meters from MH 13, it hit a steel drainage pipe with a diameter of 1.50 meters and a depth of -4.00 meters from the road surface. The problem was solved by constructing a temporary manhole to recover the apparatus, and two additional manholes 15 meters apart with a depth of -6.00 meters from the road surface to connect with the original project. When the problem occurred, the productivity in constructing underground electrical conduits was 6.9 meters a day with an extra cost of 5,470,423 baht, which was additional 88% of the original cost of work for this section, 6,210,486 baht.

Keywords: Manhole, Electrical Conduit, Productivity in Pipe Jacking


Full Text: PDF

ISSN: 2985-2145