การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกาะความร้อนเมืองและจำนวนนักท่องเที่ยวในตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยเทคนิคการรับรู้ระยะไกล
The Relationship between Urban Heat Island and Tourism at Chiangmai City, Thailand Based on Remote Sensing
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อประเมินปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองแบบรายเดือนในตัวเมืองเชียงใหม่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองกับจำนวนนักท่องเที่ยว โดยอาศัยข้อมูลอุณหภูมิจากภาพถ่ายดาวเทียมTerra ระบบ MODIS (MOD11A1) ความละเอียดเชิงพื้นที่ 1,000 เมตร แบ่งเป็นช่วงเวลากลางวันและกลางคืน และสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวแบบรายเดือนตั้งแต่ พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า ตัวเมืองเชียงใหม่เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองในทุกเดือนโดยสามารถสังเกตความแตกต่างของอุณหภูมิเกาะความร้อนเมืองในพื้นที่เมือง และพื้นที่รอบนอกได้ชัดในช่วงกลางวันของฤดูร้อนคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และฤดูหนาวคือ ช่วงเดือนธันวาคม และมกราคมในบางปี แต่ช่วงเดือนที่เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกาะความร้อนเมืองกับจำนวนนักท่องเที่ยวพบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกโดยค่าความสัมพันธ์ในเวลากลางคืนสูงกว่ากลางวัน แต่ค่าความสัมพันธ์ของปริมาณทั้งสองอยู่ในเกณฑ์น้อย อย่างไรก็ตาม การประเมินปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองจากนักท่องเที่ยวทำให้ทราบถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต
The objectives of this research are: 1) to evaluate monthly urban heat island in Chiang Mai city, Thailand and 2) to assess the relationship between urban heat island and tourist number. The MODIS (MOD11A1) with 1,000 meters resolution were used and combined with the monthly tourist number from 2013 to 2017. The results show that the urban heat island in Chiangmai city occurs in every month which can be clearly observed in the urban and sub-urban areas during the midday of hot season in February to June and December to January (in some years). But the maximum urban heat island temperature is during August to October. There is a positive relationship between urban heat island and the tourist number in daytime and night time but with the higher correlation coefficient in the night time. However, the study of urban heat island and the tourist number assessment in spatial data can be used as information for urban planning to sustainably and effectively support tourism in the future.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.06.007
ISSN: 2985-2145