Structural Equation Modeling for Analysis of Factors Affecting the Cyber Resilience in Digital Supply Chain for Small and Medium-sized Enterprises
Abstract
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่จะส่งผลต่อการคืนสภาพได้ทางด้านไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคืนสภาพได้ทางด้านไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชนด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่ใช้ในศึกษา ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวน 400 รายจากทั้งหมด 3,077,822 รายในประเทศไทย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยแจกแบบสอบถามเอสเอ็มอีละ 5 ฉบับ ผลการตอบแบบสอบถามกลับคิดเป็นร้อยละ 93.20 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis; CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling; SEM) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความร่วมมือกันของดิจิทัลซัพพลายเชน (Path Coefficient = 0.11) การจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน (Path Coefficient = 0.03) และการจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน (Path Coefficient = 0.83) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชนและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจผ่านการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน 2) ความร่วมมือกันของดิจิทัลซัพพลายเชน (Path Coefficient = 0.39) และการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน (Path Coefficient = 0.59) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน และ 3) การคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน (Path Coefficient = 0.98) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยสรุปแล้ว การคืนสภาพได้ทางไซเบอร์เป็นสภาวะที่องค์กรมีความทนทาน คล่องตัว มีความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างเร็วที่สุดหลังจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์
This study aims to 1) study factors affecting the cyber resilience in digital supply chain and 2) analyze the casual model of factors that affecting the cyber resilience in digital supply chain. The research is carry out by the quantitative research methods with sample of 400 from 3,077,822 of Small and Medium-sized Enterprises (SMEs) in Thailand. The researcher collected data using questionnaire and distributed 5 questionnaires per SME. The questionnaires were returned to the response rate at 93.20%. Data was analyzed by Confirmatory Factor Analysis (CFA), and Structural Equation Modeling (SEM). The research found that 1) digital supply chain collaboration (Path Coefficient = 0.11), cyber threat management (Path Coefficient = 0.03) and digital supply chain risk management (Path Coefficient = 0.83) had direct and positive influence to cyber resilience in digital supply chain and had indirect to business continuity management through cyber resilience in digital supply chain, 2) digital supply chain collaboration (Path Coefficient = 0.39) and cyber threat management (Path Coefficient = 0.59) had direct and positive influence to digital supply chain risk management, and 3) cyber resilience in digital supply chain (Path Coefficient = 0.98) has direct and positive to business continuity management. In summary, cyber resilience is a state in which the organizations are robust, agile, capable of coping and recovering to the normal state as soon as possible after cyber attack.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.02.004
ISSN: 2985-2145