ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสของสารสกัดจากข้าวพันธุ์ลุ้นยุ้งและแม่พญาทองดำ
Antioxidant and α-amylase Inhibitory Activities of Lon Yung and Mae Phaya Tong Dum Rice Extracts
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสของสารสกัดหยาบจากเมล็ดข้าวพันธุ์ล้นยุ้งและแม่พญาทองดำซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดเมทานอลจากเมล็ดข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด ซึ่งสารสกัดเมทานอลจากข้าวพันธุ์แม่พญาทองดำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดเมทานอลจากเมล็ดข้าวพันธุ์ล้นยุ้ง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.206 และ 0.230 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่พบว่าสารสกัดเมทานอลจากข้าวพันธุ์แม่พญาทองดำ (5.63 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของตัวอย่าง) มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมากกว่าข้าวพันธุ์ล้นยุ้ง (3.96 ไมโครกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของตัวอย่าง) ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าสารสกัดหยาบโปรตีนของข้าวพันธุ์แม่พญาทองดำ (IC50 = 0.153 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) มีฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสดีกว่าสารสกัดหยาบโปรตีนของข้าวพันธุ์ล้นยุ้ง (IC50 = 0.208 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ในทางกลับกันสารสกัดตัวทำละลายอินทรีย์ของข้าวพันธุ์ล้นยุ้งเป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ที่ดีกว่าข้าวพันธุ์แม่พญาทองดำ โดยสารสกัดเมทานอลของข้าวพันธุ์ล้นยุ้งมีฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสดีที่สุด (IC50 = 0.108 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) รองลงมาคือสารสกัดไดคลอโรมีเทน (IC50 = 0.227 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และสารสกัดเฮกเซน (IC50 = 0.467 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ตามลำดับ
This research emphasized on comparing the antioxidant and α-amylase inhibitory activities of Lon Yung local rice with those of Mae Phaya Tong Dum local rice. The methanol extracted of Mae Phaya Tong Dum rice obtained a stronger antioxidant activity (IC50 = 0.206 mg/mL) than that of Lon Yung rice (IC50 = 0.230 mg/mL), the dichloromethane extracted and the hexane extracted, respectively. The methanol extracted from Mae Phaya Tong Dum rice (5.63 μgGAE/g) had a total phenolic content more than that of Lon Yung rice (3.96 μgGAE/g) which correlated with antioxidant activity. Moreover, the protein extracted of Mae Phaya Tong Dum rice showed a higher α-amylase inhibitory activity (IC50 = 0.153 mg/mL) than that of Lon Yung rice (IC50 = 0.208 mg/mL). On the other hand, the organic solvent extracted of Lon Yung rice was better α-amylase inhibitor than that of Mae Phaya Tong Dum rice. The methanol extracted of Lon Yung rice obtained the best α-amylase inhibitory activity (IC50 = 0.108 mg/mL), followed by that of the dichloromethane extracted (IC50 = 0.227 mg/mL) and the hexane extracted (IC50 = 0.467 mg/mL).
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.04.002
ISSN: 2985-2145