การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดอัตราการปฏิเสธรุ่น
Abstract
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่) เป็นสินค้าที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้นโรงงานตัวอย่างซึ่งทำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นั้นประสบปัญหาด้านอัตราการปฏิเสธรุ่นเกินกว่าระดับการยอมรับ งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการลดอัตราการปฏิเสธรุ่นโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบงานของพนักงาน ซึ่งใช้การวิเคราะห์ระบบการวัดแบบนับมาประยุกต์ใช้ในการประเมินสมรรถนะพนักงานเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ยังได้ประยุกต์ใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพภายในกระบวนการผลิต ในกระบวนการตรวจสอบด้วย ซึ่งหลังจากวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าอายุการทำงานมีผลต่อสมรรถนะของพนักงาน งานวิจัยนี้ได้ทำการแก้ไขโดยการอบรมพนักงานในเรื่องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง หลังจากนั้นทำการทดสอบพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว นอกจากนี้ยังติดตั้งชิ้นงานตัวอย่าง ในกระบวนการตรวจสอบขั้นสุดท้าย เพื่อช่วยให้พนักงานใช้อ้างอิงในการตัดสินใจที่จะปฏิเสธ หรือยอมรับชิ้นงาน ผลการทดลองสรุปว่าอัตราการปฏิเสธรุ่นลดลงจากเดิม 11.98% เหลือ 3.26%
คำสำคัญ: อัตราการปฏิเสธรุ่น การฝึกอบรมพนักงาน อายุการทำงาน
Electronics products (i.e. cell phone products) are one of products playing a more important role to people in everyday life. This has led the high competition in the market. The company in this study which produces electronic components confronted the problem of the lot rejection rate. It was higher than the acceptance level. This paper aimed to reduce the lot rejection rate by improving employees’ performance in the inspection process. The measurement system analysis was used to evaluate individual employees’ job performance. Moreover, the In Process Quality Control has been implemented to the inspection process. It is found that employees’ year of work experience has substantial effects on work performance. This study had proposed the solutions by training the employees in the context of product requirements and procedure of working properly. Then, evaluating them after attending training programs had been performed. In addition, the limit of samples had been proposed in the final inspection process for supporting the decision making of workers to reject or accept the parts. The results of this research showed that the lot rejection rate had been decreased from 11.98% to 3.26%.
Keywords: Lot Rejection Rate, Training the Employees, Working Year
ISSN: 2985-2145