การประเมินปริมาณฝนสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ของเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนบางลาง
Estimate of Probable Maximum Precipitation (PMP) of Rajjaprabha Dam and Bang Lang Dam
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินปริมาณฝนสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ (Probable Maximum Precipitation; PMP) โดยวิธีการเคลื่อนย้ายพายุฝน และวิธีทางสถิติในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในพื้นที่รับน้ำฝนของเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และทำการเปรียบเทียบผลการประเมินค่า PMP ทั้งสองวิธีและผลการศึกษาในอดีต ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลพายุที่เคยเกิดขึ้น และมีอิทธิพลสูงสุดต่อพื้นที่ภาคใต้รวมจำนวน 14 ลูก และพิจารณาร่วมกับข้อมูลอุณหภูมิจุดน้ำค้าง เพื่อคำนวณหาค่าปริมาณน้ำในบรรยากาศที่อาจเป็นไปได้สูงสุด และข้อมูลปริมาณฝนสูงสุดช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ที่สถานีวัดน้ำฝน สำหรับผลการศึกษาประเมิน PMP โดยวิธีเคลื่อนย้ายพายุฝนพบว่า พายุฝนที่ให้ค่า PMP สูงสุดสำหรับช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ได้แก่ พายุดีเปรสชันรหัส 076 เกิดระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 โดยมีศูนย์กลางพายุใกล้กับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเคลื่อนย้ายพายุดังกล่าวไปยังเขื่อนรัชชประภาให้ค่า PMP เท่ากับ 892.74, 1,254.45 และ 1,510.91 มิลลิเมตร ตามลำดับ และเมื่อเคลื่อนย้ายพายุฝนไปยังเขื่อนบางลางให้ค่า PMP เท่ากับ 575.13, 808.15 และ 973.38 มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาประเมิน PMP โดยวิธีทางสถิติพบว่า สถานีวัดน้ำฝนรหัส 610062 ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีที่ให้ค่า PMP สูงสุดสำหรับช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน สำหรับพื้นที่รับน้ำของเขื่อนรัชชประภา มีค่าเท่ากับ 734.90, 1,205.13 และ 1,829.36 มิลลิเมตร และสถานีวัดน้ำฝนรหัส 710101 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นสถานีที่ให้ค่า PMP สูงสุดสำหรับช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ของพื้นที่รับน้ำเขื่อนบางลางมีค่าเท่ากับ 612.80, 960.06 และ 1,292.97 มิลลิเมตร เมื่อทำการเปรียบเทียบผลทั้งสองวิธีพบว่า การประเมิน PMP โดยวิธีทางสถิติให้ค่า PMP ที่สูงกว่าวิธีเคลื่อนย้ายพายุฝน คิดเป็นร้อยละ 21.08 สำหรับเขื่อนรัชชประภา และร้อยละ 32.83 สำหรับเขื่อนบางลาง และเมื่อทำการเปรียบเทียบผลการศึกษา PMP เดิม ของเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนบางลาง พบว่า วิธีทางสถิติยังคงให้ค่าที่สูงกว่า วิธีเคลื่อนย้ายพายุฝน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งปริมาณฝนโดยมากเกิดจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ มากกว่าพายุฝน การใช้วิธีทางสถิติในการประเมินค่า PMP ให้ค่าที่เหมาะสมต่อการนำไปวิเคราะห์ปริมาณน้ำหลากสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ (Probable Maximum Flood; PMF) มากกว่าวิธีการเคลื่อนย้ายพายุฝน เนื่องจากโดยทั่วไปการออกแบบอาคารระบายน้ำล้นของเขื่อนของใหญ่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง การประเมินปริมาณน้ำหลากจะพิจารณาในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติสูงสุด (Extreme Flood Event)
This study aims to examine the estimation of Probable Maximum Precipitation (PMP) by using transposition and statistical method in southern of Thailand scoped with the catchment area of Rajjaprabha dam in Surat Thani province and Bang Lang dam in Yala province. The PMP results from both methods are compared with those derived of earlier studies. Data used consists of 14 previous and most influential storm events in conjunction with dew point temperature, allowing the computation of the maximum probable water in the atmosphere, and one, two and three-day maximum precipitation at rain station. According to the estimation results using transposition method, it was found that the highest PMP rainstorm during 1, 2 and 3 days is Depression 076 during 31st October – 4th November 1969. The storm center was near Hua-Hin district, Prachuap Khiri Khan province. When transposing the storm to Rajjaprabha dam, 892.74, 1,254.45 and 1,510.91 millimeters of PMP were provided, respectively. In addition, storm transposition to Bang Lang dam provided 575.13, 808.15, and 973.39 millimeters of PMP, respectively. Regarding to the estimation results of PMP by using statistical method, it was found that Station 610062 in Thakanorn sub-district, Kiriratnikom district, Surat Thani province was the highest PMP station during 1, 2, and 3 days in the catchment area of Rajjaprabha dam. The PMP results were 734.90, 1,205.13, and 1,829.36 millimeters while Station 710101 in Bachao district, Bannangsta district, Yala province was the highest PMP station during 1,2, and 3 days in the catchment area of Bang Lang dam. The PMP results were 612.80, 960.06 and 1,292.97 millimeters. The comparison of both methods shows that PMP estimation using the statistical method provides higher PMP results than the PMP from transposition method, which accounted for 21.08 percent for Rajjaprabha dam and 32.83 percent for Bang Lang dam. The comparison of previous PMP between Rajjaprabha and Bang Lang Dam demonstrates that the statistical method still gives higher PMP estimates. The study results show that precipitation in southern part of Thailand is mostly caused by the impact of intertropical convergence zone rather than the rainstorm. Using a statistical method for PMP estimation exhibits a more appropriate value for the analysis of Probable Maximum Flood (PMF) than using transposition method. Undeniably, in spillway design emphasizing dam safety and security, extreme flood events need to be taken into consideration for estimating future runoff.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2020.05.003
ISSN: 2985-2145