Page Header

การวัดค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของเมืองเชียงใหม่ กรณีศึกษาผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่
The Measurement of Transportation Accessibility Efficiency of Chiang Mai City: Cause Study of Chiang Mai Comprehensive Plan

Luxana Summaniti, Siriwat Summaniti

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและอนาคต โดยชุดทฤษฏีและเทคนิคสแปซซินแทกซ์ ร่วมกับระบบภูมิสารสนเทศ การสำรวจพื้นที่ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลวิจัยพบว่าผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ และเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน มีรูปแบบระบบคมนาคมขนส่งแบบตารางกริดบริเวณศูนย์กลางเมืองและแนวถนนเลี่ยงเมืองร่วมกับถนนวงแหวนเชื่อมศูนย์กลางเมืองกับชุมชนโดยรอบ ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระดับเมืองของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ คือ 0.214098 ค่าต่ำสุด 0.087010 ค่าสูงสุด 0.323663 ตามลำดับ ถนนที่มีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงสูง คือ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) และจุดตัดถนนวงแหวนและถนนรัศมีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตประเภทพาณิชยกรรมและอยู่อาศัยหนาแน่นมาก อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ยกเว้นบริเวณจุดตัดถนนวงแหวนและถนนรัศมีทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ของเมือง ที่ค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงสูงของแนวถนนตัดผ่านพื้นที่ชนบท และเกษตรกรรม สำหรับค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระดับเมืองของเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน คือ 0.46700 ค่าต่ำสุด 0.122850 ค่าสูงสุด 0.725260 ตามลำดับ ถนนที่มีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงสูง คือ บริเวณใจกลางเมืองทางหลวงหมายเลข 1 ถนนรัศมีเชื่อมชุมชนโดยรอบ มีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึง 0.658449–0.725264 สอดคล้องกับการใช้อาคารและสิ่งก่อสร้างปัจจุบันประเภทพาณิชยกรรมและอยู่อาศัยหนาแน่นมาก อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย อย่างไรก็ดี พบลักษณะร่วมของประสิทธิภาพการเข้าถึงสูงบริเวณจุดตัดแนวถนนวงแหวนและถนนรัศมีโดยรอบเมืองเช่นเดียวกับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ของแนวถนนที่ตัดผ่านพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอย่างกระจัดกระจายในพื้นที่ชนบทและเกษตกรรมชานเมือง การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ดังกล่าวอันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายคมนาคมขนส่งดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับหาแนวทางกำหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมชานเมือง

The purpose of this research was to analyze the accessibility efficiency of transportation network of Chiang Mai comprehensive plan and Chiang Mai city at the present for appropriate land use guidelines. The study was undertaken by theory and Space Syntax technique, Geo-Informatics System, field surveying and document analysis. It was found that the transportation network of Chiang Mai comprehensive plan and Chiang Mai city at the present were in the main form of a grid, radius and ring roads linking from the city center to suburb. The average accessibility efficiency of transportation networks was 0.214098 with the minimum of 0.087010 and the maximum of 0.323663 respectively. A high accessibility efficiency of transportations network was Highway no.1 (Superhighway Road). The junction of ring and radius roads had accessibility efficiency in accordance with the regulation of land use for commercial purposes and high-density, medium-density and low-density residential areas. However, such findings were not true for the junction of ring and radius roads in the north, east and south directions of the city where the high accessibility efficiency was found in rural and agricultural areas. At the present, the average of accessibility efficiency index of Chiang Mai transportation networks was 0.464700, while its minimum and maximum indexes were 0.122850 and 0.725260, respectively. The roads that had high accessibility efficiency were the Highway no.1 in the center of the city and the radius roads from the city center to suburb. Their efficiency accessibility indexes were 0.658449–0.725264 which were in accordance with existing building and construction uses at the present for commercial purposes and high-density, medium-density and low-density residential areas. However, it was found a common accessibility efficiency along the junction of the ring roads and the radius roads around the city and that of the transportation network of Chiang Mai comprehensive plan through the country and agricultural areas. Both had impacts on scattering urban development in the countryside and suburb areas. The main effect was the result from the aforementioned accessibility efficiency indexes and there should have a measure to control the land use in the future in order to reduce the impacts of development the countryside and suburb agricultural areas.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.09.007

ISSN: 2985-2145