การพัฒนาชุดทดลองกระตุ้นผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าโดยใช้พัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง
The Deployment of Pulse High Voltage Generator for Stimulating Pleurotus Sajor-Caju Mushroom
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดทดลองกระต้นุ ผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าโดยใช้พัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูง โดยใช้วงจรเครื่องกำเนิดอิมพัลส์ที่มีตัวเก็บประจุขนาด 10 นาโนฟารัด ต่อตัวต้านทาน 500 กิโลโอห์ม ที่ระยะแกปเท่ากับ 3.56 มิลลิเมตร ได้แรงดันไฟฟ้าที่เกิดการสปาร์คที่ 11,800 โวลต์ จากการทดลองได้แรงดันไฟฟ้าความต่างศักย์สูงที่จำนวนชั้นของวงจรเท่ากับ 5, 10 และ 15 ได้แรงดันไฟฟ้าความต่างศักย์สูงเท่ากับ 48,000, 93,000 และ 140,000 โวลต์ ตามลำดับโดยรูปคลื่นที่ได้เป็นลักษณะของสวิตชิงอิมพัลส์มีรูปแบบความกว้างหน้าคลื่นและหลังคลื่น (T1/T2) เท่ากับ 0 และ 3,400 ไมโครวินาที ตามลำดับ เมื่อทดลองใช้พัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงดังกล่าวกระตุ้นก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ทำมาจากก้อนขี้เลื้อยใส่ถุงจำนวน 24 ก้อน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการกระตุ้น 2) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงจำนวน 20 ครั้ง ที่ 50,000 โวลต์ 3) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงจำนวน 20 ครั้ง ที่ 100,000 โวลต์ และ 4) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงจำนวน 20 ครั้ง ที่ 150,000 โวลต์ ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตของก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ทำการทดลองในระยะเวลา 60 วัน 1) กลุ่มควบคุมให้ผลผลิตรวมน้อยที่สุด คือ 754 กรัม 2) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้า 50,000 โวลต์ให้ผลผลิตรวมที่ 806 กรัม 3) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้า 100,000 กิโลโวลต์ ให้ผลผลิตรวมที่ 849 กรัม 4) กลุ่มที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้า 150,000 โวลต์ ให้ผลผลิตรวมเยอะที่สุดที่ 853 กรัม โดยผลผลิตรวมของเห็ดนางฟ้าที่กระตุ้นด้วยพัลส์ไฟฟ้าความต่างศักย์สูงด้วยพัลส์ไฟฟ้า 150,000 โวลต์ ให้ผลผลิตสูงสุด โดยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
This research aims to develop a pulse high voltage generator for stimulating Pleurotus Sajor-Caju mushroom by using impulse generator circuit. The circuit was developed with 10 nF of capacitor, 500 kOhm of resistor and 3.56 mm distance of spark gap, resulting in 11,800 V for sparking. The experiments consisted of the pulse high voltage generator with 5, 10 and 15 stages which would obtain 48,000, 93,000 and 140,000 V, respectively. Specifically, it is a switching impulse. The front time and tail time (T1/T2) of wave form are 0 and 3,400 ms. The stimulation was done on Pleurotus Sajur-Caju mushroom, made from a bag of sawdust-based for growing Pleurotus Sajur-Caju mushroom. From the total of 24 bags, they were divided into four groups during the stimulation: Group 1 for 50,000 V, Group 2 for 100,000 V, Group 3 for 150,000 V and Group 4 for the control group which was not at all stimulated by pulse high voltage. During the experiment, each mushroom was stimulated by pulse high voltage 20 times and allowed 60 days for growing. The total yield of mushroom revealed that the minimum productivity was found to be the control group which was only 754 grams. As for the experimental groups, they were 806 grams for the 50,000 V group, 849 grams for the 100,000 V group and the maximum was 853 grams for the 150,000 V group. It can be concluded that the maximum productivity of Pleurotus Sajor-Caj mushroom could be stimulated with 150,000 V pulse high voltage, which increased its productivity by 13% when comparing to the control group.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2019.03.004
ISSN: 2985-2145