การพัฒนากระเบื้องดินเผามุงหลังคาดูดซึมน้ำต่ำจากดินแดงพื้นบ้านผสมเศษแก้ว
Development of Low Water Absorption Terracotta Roof Tile from Local Pottery Clay and Soda Lime Glass Cullet
Abstract
กระเบื้องดินเผามุงหลังคาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังคงได้รับความนิยมใช้งานตามอาคารบ้านเรือน วัด โรงแรม และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม กระเบื้องดังกล่าวยังมีข้อด้อยบางประการ เช่น การเกิดคราบดำจากตะไคร่จากการดูดซึมน้ำสูง สีของผลิตภัณฑ์ไม่สม่ำเสมอ ความแข็งแรงต่ำ อีกทั้ง ในการขั้นตอนหลังเผาต้องรออุณหภูมิต่ำ (< 200°ซ) จึงเอากระเบื้องออกจากเตาโดยไม่เสียหาย ซึ่งทำให้เสียเวลาในการผลิต ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาสูตรกระเบื้องดินเผามุงหลังคาดูดซึมน้ำต่ำ และมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยผลการวิจัยพบว่าสูตรกระเบื้องที่ใช้ดินแดงบ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็นวัตถุดิบหลัก และเศษแก้วเหลือทิ้งเป็นส่วนผสม ด้วยอัตราส่วนโดยน้ำหนัก Al2O3 : SiO2 เท่ากับ 0.30 โดยประมาณ ทำให้ได้กระเบื้องที่มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำกว่าร้อยละ 1 หลังเผาที่ 1,150°ซ และสามารถนำผลิตภัณฑ์ออกจากเตาได้ที่อุณหภูมิ 200°ซ โดยไม่แตกร้าว และยังคงความแข็งแรงตาม มอก 158-2518
A clay roof tile is a product which has been used for construction such as houses, temples, hotels as well as other cultural tourist attractions located around country. However, there are some disadvantages of installing the clay roof tile such as the high moisture adsorption, which leads to the growth algae causing black stain on tile. After firing process, it is necessary to wait until the temperature decreases lower than 200°C to take the fired product out to prevent the damage, resulted in long time consuming. Moreover, the non-uniform in color and low strength may be counted as their drawback. In this study, we focus on developing the clay roof tile with low moisture adsorption and improved mechanical strength. The use of Banberg clay from Lopburi province as a raw material, incorporating with cullet with an Al2O3 : SiO2 weight ratio of 0.30, lead to the reduction in moisture adsorption more than 1%, after firing at 1150 °C. Moreover, the fired tile can be taken out of the furnace at 200°C without cracking and maintains the strength according to TIS 158-2518.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.12.003
ISSN: 2985-2145