Page Header

The Study of Flood Mitigation by Huay Sa-Mong Dam Project and Khlong Pra Sathueng Reservoir Project in Bangpakong–Prachinburi River Basin

Don Krue-hom, Bancha Kwanyuen

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำบางปะกง–ปราจีนบุรี จากโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ของกรมชลประทานคือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง โดยพัฒนาแบบจำลอง InfoWork ICM และประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัยด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงและอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง โดยจำลองเหตุการณ์อุทกภัยที่คัดเลือกในปี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 และปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นปีที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในพื้นที่การศึกษาประสบปัญหาอุทกภัย จากนั้นจะมาประมวลผลตามกรณีศึกษาย่อย (Scenario) คือ 1) กรณีไม่มีอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่ง 2) กรณีมีการ Operate อ่างเก็บน้ำห้วยโสมง และอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง และนำผลมาเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำบริเวณจุดพิจารณาทั้งหมด 3 ตำแหน่ง ได้แก่ สถานีวัดน้ำท่าKGT.3, KGT.6 และ KGT.1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการบรรเทาปัญหาอุทกภัยของกรณีศึกษา เมื่อพิจารณาที่ 1) สถานี KGT.3 พบว่า สามารถลดอัตราการไหลลงได้ 26.97 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2548, 54.31ลบ.ม./วินาทีในปี พ.ศ. 2549 และ 37.36 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.88, 9.59 และ 5.12 ตามลำดับ 2) สถานี KGT.6 พบว่า สามารถลดอัตราการไหลลงได้ 24.62 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2548, 30.80 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2549 และ 60.89 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.30, 4.94 และ 6.79 ตามลำดับ และ 3) สถานี KGT.1 พบว่าสามารถลดอัตราการไหลลงได้ 25.27 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2548, 38.21 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2549 และ 19.60 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.62, 5.42 และ 2.06 ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงและอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัย โดยสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุการเกิดน้ำท่วมขึ้นกับลักษณะการเกิดฝนและตำแหน่งการเกิดฝนตก ดังนั้นในการแก้ปัญหาด้านอุทกภัยในพื้นที่ศึกษา ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติมควบคู่ไปเพื่อให้สามารถบรรเทาอุทกภัยได้เพิ่มขึ้น ต่อไป

The main purpose of this study is efficiency of flood mitigation in Bang Prakong- Prachin Buri River Basin with Huay Sa-Mong Dam and Klong Pra Sathueng Reservoir projects employing Mathematical Models. The Info Work ICM model was developed and calibrated for flood study in 2005, 2006 and 2013. The scenarios for this study are existing river system and including these reservoirs in river system. The results, discharges, were compared at 3 gauging stations; KGT.3, KGT.6 and KGT.1. As the result, the discharges at KGT.3 were decrease by 26.97, 54.31 and 37.36 m3/s in 2005, 2006 and 2013, respectively or equal to 4.88%, 9.59% and 5.12%. The discharges at KGT.6 also decreased by 24.62, 30.80 and 60.89 m3/s in 2005, 2006 and 2013, respectively or equal to 4.30%, 4.94% and 6.79%. For the last station, KGT.1, the discharges decreased by 25.27, 38.21 and 19.60 m3/s in 2005, 2006 and 2013, respectively or equal to 3.62%, 5.42%.and 2.96%. In conclusions, the study described that Huay Sa-Mong Dam and Klong Pra Sathueng Reservoirs revealed effectiveness of flood damage mitigation. However, the measure effectiveness still depends on the characteristics and distribution of rainfall in the basin. Thus, appropriate measures focusing on flood mitigation and preparedness should also be taken into account.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2017.11.006

ISSN: 2985-2145