Page Header

การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษเปลือกถั่วลิสง
The Development of Biomass Fuel from Peanut Shell

Patcharee Intanoo, Praekwun Ketrom

Abstract


งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษเปลือกถั่วลิสง โดยศึกษาสมบัติเชิงกลและสมบัติทางความร้อนของเชื้อเพลิงชีวมวลที่เตรียมจากเปลือกถั่วที่มีแป้งมันและแกลบเป็นตัวเชื่อมประสาน ณ แรงดันที่ใช้ในการกดอัดขึ้นรูป 2 แรงดันคือ 4.5×105 lbm/ft2 และ 13.2×105 lbm/ft2 จากการศึกษาพบว่าเชื้อเพลิงชีวมวลที่ใช้แรงดันสูงในการกดอัดมีสมบัติเชิงกลดีกว่าการใช้แรงดันต่ำซึ่งสัมพันธ์กับค่าดัชนีการแตกร่วน และความอัดแน่นที่มากกว่าคิดเป็นร้อยละ 4.20 และ 9 ตามลำดับในทางตรงกันข้ามเชื้อเพลิงชีวมวลที่ใช้แรงดันต่ำในการกดอัดมีสมบัติทางความร้อนสูงกว่าการใช้แรงดันสูงแสดงในรูปของค่าความร้อนสูง และประสิทธิภาพการให้ความร้อน ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการซึมผ่านของน้ำ และปริมาณความชื้นต่ำ มากไปกว่านั้นแกลบไม่เหมาะสำหรับการเป็นตัวเชื่อมประสานเนื่องจากลักษณะที่เป็นทรงกระบอกและปริมาณเถ้าสูงคิดเป็นร้อยละ 19.97

This research was the development of biomass fuel from peanut shell by studying the mechanical and thermal properties of biomass fuel prepared from peanut shells with starch and rice husk were used as a binder at two hydraulic pressures of 4.5×105 and 13.2×105 lbm/ft2. From the study, it was found that the biomass fuel under the use of high hydraulic pressure fuel had a better mechanical property than that the use of low hydraulic pressure in term of an increase in shatter index and densification 4.20% and 9%, respectively. In contrast, the thermal property of biomass fuel used low hydraulic pressure was enhanced in term of a higher high heating value and a better thermal efficiency corresponding to the lower water penetration rate and moisture content. Moreover, rice husk cannot use as a binder due to its cylindrical characteristic and high ash content of 19.97%.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.08.001

ISSN: 2985-2145