การกำหนดที่ตั้งสถานีช่วยเหลือฉุกเฉินที่เหมาะสมบนทางหลวงโดยตัวแบบครอบคลุมความต้องการสูงสุด: กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม
Locating the Optimal Emergency Services Stations on Highway Using Maximal Covering Location Model: Case Study Nakhon Pathom Province
Abstract
งานวิจัยนี้ได้เสนอการกำหนดจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนทางหลวงเพื่อช่วยเหลือด้านการเดินทางและการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยใช้ตัวแบบการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับปัญหาการเลือกที่ตั้งที่ครอบคลุมความต้องการสูงสุด (Maximal Covering Location Model; MCLP) ในการวิเคราะห์ได้กำหนดพารามิเตอร์ที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนเส้นทางบนทางหลวงซึ่งกำหนดให้เป็นที่สถานีสำหรับกำหนดจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน จำนวน 17 เส้นทาง หรือ 30 พื้นที่ จำนวนประชากรในพื้นที่ที่มีทางหลวงผ่านจำนวน 74 เขต จำนวนอุบัติเหตุในพื้นที่ 74 เขต และระยะทางระหว่างพื้นที่สำหรับกำหนดจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉินและพื้นที่ที่อยู่อาศัยสำหรับประชากร 74 เขตในจังหวัดนครปฐม เพื่อเลือกตำแหน่งที่ตั้งจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนทางหลวงที่ครอบคลุมความต้องการในพื้นที่ได้สูงสุด ในการทดลองได้เปรียบเทียบการครอบคลุมความต้องการ 2 ประเภท ได้แก่ การครอบคลุมตามประชากรที่อาศัยในพื้นที่และการครอบคลุมตามจำนวนอุบัติเหตุในพื้นที่โดยกำหนดจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉินขนาดเล็กครอบคลุมในระยะ 10 กิโลเมตร จุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉินขนาดกลางครอบคลุมในระยะ 15 กิโลเมตร และจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉินขนาดใหญ่ครอบคลุมในระยะ 20 กิโลเมตร จากผลการทดลองพบว่า การกำหนดตำแหน่งจุดบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 8 ตำแหน่ง ระยะทางครอบคลุมภายใน 20 กิโลเมตร ตามการครอบคลุมประชากรที่อาศัยในพื้นที่สามารถครอบคลุมประชากรได้สูงสุด ร้อยละ 99.39 และการกำหนดตำแหน่งตามจำนวนอุบัติเหตุในพื้นที่สามารถครอบคลุมจำนวนอุบัติเหตุในพื้นที่สูงสุด ร้อยละ 99.47
The objective of this research is to locate emergency highway service stations for roadside and medical emergencies in Nakhon Pathom province by using the Maximal Covering Location Model (MCLP). The important parameters include the number of highway routes, 17 alternate routes in 30 zones, population in areas along the highway, the number of accidents and distances between the emergency service stations and the residential places in 74 districts. To determine the optimal emergency stations, two coverage demands are considered; population trends and the number of accidents in the area. Three types of service stations, classified by their coverages, are experimentally tested including small, medium, and large emergency service stations within 10 km, 15 km, and 20 km distances respectively. As a result, 8 emergency service stations are needed for the maximum population coverage of 99.39% within 20 km., which handles 99.47% of total accidents.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.04.003
ISSN: 2985-2145