Page Header

การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ

นวพล ศรีวัฒนทรัพย์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานในด้านประสิทธิภาพของเว็บไซต์แบบเรสพอนซิฟ กรณีศึกษาจากเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์ตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) โดยการใช้เทคนิคแบบเรสพอนซิฟ แล้วทำการทดสอบการแสดงผลผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นต้น จากนั้นได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ผ่านทางเครื่องมือวิจัย Google Analytics เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาเว็บไซต์ พร้อมทั้งสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานในด้านประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ผ่านเครื่องมือวิจัยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สนใจเข้าศึกษา นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่าอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และบุคคลทั่วไป จำนวน 1,850 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบเว็บไซต์ด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ สามารถแก้ไขปัญหาการแสดงผลในหน้าเว็บเพจผ่านหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกันได้ทำให้มองเห็นข้อมูลในหน้าเว็บได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น มีความง่ายต่อการใช้งาน และเว็บไซต์มีความทันสมัยสวยงามมากขึ้น 2) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์จาก Google Analytics พบว่า พฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมีจำนวนลดลง ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเลือกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ในด้านประสิทธิภาพของเว็บไซต์พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาหน้าเว็บเพจ ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.58 รองลงมาคือ ความพึงพอใจในด้านการออกแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับดีมีค่าเฉลี่ย 4.28 และความพึงพอใจด้านความง่ายในการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.05 ตามลำดับ

This research is aimed at: 1) studying websites developed with responsive techniques, 2) examining user behaviours towards websites developed with the aforementioned techniques, and 3) evaluating user satisfaction on performance of responsive websites. The website included as a part this case study was the one of the Faculty of Graduate Studies, Mahidol University. The new website based on System Development Life Cycle (SDLC) was developed through responsive techniques, and rendering tests were performed on various devices, such as smartphones, tablets, desktop computers, etc. Subsequently, comparative analysis between the use of old and new sites were performed through Google Analytics. Users were enquired to indicate their overall satisfaction via an online questionnaire. Samples were 1,850 prospective students, current students, alumni, researchers, and visitors. The results indicated that: 1) Responsive web design could resolve web page rendering issues on different screen sizes: it supports correct and complete web page rendering, faster access to data, simplicity of usage, and enables the website to be modernized and more visually attractive; 2) Based on results of web behaviours from Google Analytics, the number of accesses from desktop computers decreased, as many users preferred to use smartphones and tablets for accessing the website, and the number of such assesses tended to increase; and 3) For website user satisfaction in terms of performance, satisfaction with speed to access contents on web pages was ranked in the highest position ( = 4.58), followed by satisfaction with website design ( = 4.28), and the simplicity of usage ( = 4.05), revealing high levels of user satisfaction in these domains.


Keywords



Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.kmutnb.2017.07.001

ISSN: 2985-2145