มุมมองวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต่อการเรียนรู้ด้วยเกมดิจิทัลสำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0
Software Engineering Prospective on Digital Game-Based Learning for Thailand Education 4.0
Abstract
ในปัจจุบันเกิดการตื่นตัวและปรับตัวทางสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเกมเป็นผลผลิตในยุคดิจิทัลที่ผู้คนทุกเพศทุกวัย และทุกระดับการศึกษา สามารถเข้าถึงได้ง่าย เกมจึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ในทางกลับกันมีความวิตกกังวลว่าเกมอาจทำให้เกิดความรุนแรงเชิงพฤติกรรมรายบุคคล ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสังคม บทความวิชาการฉบับนี้ได้ทำการสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เกมในการเรียนการสอนในประเทศไทย และนำเสนอกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการพัฒนาเกมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยตระหนักว่าเกมเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนได้ ซึ่งในการพัฒนาเกมจะต้องคำนึงถึงหลักการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ร่วมกับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ทางด้านการศึกษา ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะแนะนำให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาที่ใช้เกมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเกิดทัศนคติที่ดีในการเปลี่ยนแปลงของโลกทางด้านการศึกษา เพื่อให้สามารถปรับตัวและสามารถใช้เทคโนโลยีกับการศึกษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป
Nowadays, there is technology awareness and adaptation in social, economic and education because of disruptive technology. Game is the result in digital edge in which people in any genders, ages, and education levels are able to access. Game is widely attracted by all people. On the other hand, there is anxiety over game that it may lead to aggressive behaviour of the individual and may affect the society. This article investigated some research relating to game-based learning in Thailand. The software engineering perspective required for the development of learning game with quality is presented. Game is realised as a tool for teaching and learning both inside and outside a classroom. Game development is relied on both software engineering principles and learning outcome of the subject. The author aims to make the better understanding and to create the optimistic attitudes in the evolution of education in order to adapt to and use technology in an appropriate way.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.04.001
ISSN: 2985-2145