การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดเก็บวัสดุคงคลังหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง กรณีศึกษาโรงงานผลิตตัดเหล็กม้วน
Development of a Database System for Managing Spare Parts in Engineering and Maintenance Department: A Case Study in Coil Center Industry
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงโดยการปรับปรุงวิธีการเก็บข้อมูลอะไหล่คงคลัง เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานและค้นหาข้อมูลอะไหล่เครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และลดเวลาในการซ่อมเครื่องจักรแต่ละครั้ง ปัจจุบันพบว่า ปัญหาด้านการควบคุมการเบิกจ่ายอะไหล่ที่พบในโรงงานกรณีศึกษาเกิดจากการบริหารและการจัดการทางด้านข้อมูลอย่างไม่เป็นเชิงระบบสารสนเทศ การบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อนยากต่อการค้นหารวมถึงการสั่งซื้อที่ซ้ำซ้อน การรอคอยอะไหล่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดจากข้อมูลเฉลี่ยในการค้นหาอะไหล่แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 34 นาที รวมถึงการตรวจสอบอะไหล่สำรองในแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการค้นหา ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาประยุกต์ใช้โดยการออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์แอคเซสในการพัฒนาแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการทดสอบการใช้งานโปรแกรมโดยการเปรียบเทียบกับระบบงานเดิมสรุปได้ว่าระบบฐานข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาขึ้น สามารถลดเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ 31.99 นาที เป็น 1.44 นาที หรือเท่ากับ 95.69 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นระบบการจัดการฐานข้อมูลซึ่งเป็นส่วนของการควบคุมอะไหล่คงคลังส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงเพิ่มมากขึ้น
The objective of this research is to develop a database management system in the engineering and maintenance department by improving inventory parts data collection methods. It aims to improve working performance, improve searching time of the parts and reduce the mean time to repair machine. Presently, the parts disbursement controlling problems found at the case study factory are caused from the data management and the data record which is complicated and double searching. According to double ordering parts waiting, the average searching time for parts is 34 minutes. The Management Information System (MIS) is applied by using Microsoft Access 2010 program to develop and solve the problem. Referring to the program, comparing with the previous system, it can be concluded that the new developed database system can reduce the working time by 31.99 minutes to 1.44 minutes or 95.69 percent. As a result, the database system can increase the performance of maintenance section.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.06.001
ISSN: 2985-2145