การปรับปรุงพฤติกรรมหลังการวิบัติของดินซีเมนต์มวลเบาผสมเส้นใยโพลีโพรพิลีน
Improvement of Post Peak Behavior of Light Weight Foam Soil with Polypropylene Fiber
Abstract
บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงคุณภาพของดินซีเมนต์มวลเบาด้วยเส้นใยโพลีโพรพิลีนสำหรับใช้ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนการศึกษาจะมุ่งเน้นการปรับปรุงจุดด้อยเรื่องการแตกหักง่ายและเพื่อเพิ่มความเหนียวให้วัสดุ โดยทำการทดสอบตัวอย่างแบบแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยมีสัดส่วนปริมาตรเส้นใยโพลีโพรพิลีนที่ต่างกันในอัตราส่วนร้อยละ 0, 1, 2, 3 และ 4 กับดินซีเมนต์มวลเบาที่ปริมาณปูนซีเมนต์ 100, 150 และ 200 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตัวอย่างที่ใช้มีหน่วยน้ำหนัก 8, 10 และ 12 กิโลนิวตัน/ลูกบาศก์เมตร ในการทดสอบนี้ได้ใช้เส้นใยยาว 6 และ 12 มิลลิเมตร จากนั้นทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดตัวอย่างที่ระยะเวลาการบ่ม 7 และ 28 วัน ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่าการใส่เส้นใยโพลีโพรพิลีนทำให้พฤติกรรมการเสียรูปของวัสดุดีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของค่าความเหนียวและค่าความเค้นคงค้างตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณเส้นใยและอัตราการลดลงของการสูญเสียความเค้นหลังจุดวิบัติ นอกจากนั้นยังพบว่า อิทธิพลการเพิ่มของปริมาณและความยาวเส้นใยมีผลอย่างไม่มีนัยต่อการเพิ่มของค่ากำลังรับแรงอัด
This paper presents the improvement of lightweight foam mixed soil (LFS) with polypropylene fibers in soft clay area. The study emphasizes the reducing brittle property and increasing the ductile behavior in material. A series of the unconfined compression test was conducted on LFS samples with different polypropylene fibers 0, 1, 2, 3 and 4%, cement content 100, 150 and 200 kg/m3. The unit weight of samples was set with 8, 10 and 12 kN/m3, and different fibers lengths were 6 and 12 mm. The curing time of 7 and 28 days were conducted, respectively. The results found that the adding fibers seem better performance on the deformation characteristic where the post-peak behavior could be enhanced as by increasing of the toughness and the residual strength with increasing fiber content, and the reduction rate on loss of post-peak. However, the influence of fiber content and the length of fiber has insignificant effect on the increasing the value of unconfined compressive strength.
Keywords
DOI: 10.14416/j.kmutnb.2018.01.017
ISSN: 2985-2145