Editorial Policies
- Focus and Scope
- Section Policies
- Peer Review Process
- Publication Frequency
- Open Access Policy
- Publishing Ethics and plagiarism policy
Focus and Scope
ขอบเขตของบทความวิจัย/บทความวิชาการ ประกอบด้วย
- ด้านวิศวกรรมศาสตร์
- ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
- ด้านอุตสาหกรรมเกษตร
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ด้านสถาปัตยกรรม
- ด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม
Section Policies
บรรณาธิการปริทัศน์ (Editorial Corner)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย (Research Article)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
ด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
Academic Article
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering Research Articles )
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science Research Articles)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Research Articles )
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย ด้านสถาปัตยกรรม (Architecture Research Articles)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Research Articles)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัย ด้านภูมิศาสตร์ (Geography Research Article)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิชาการ (Academic Article)
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บทความวิจัยจาก ECTI
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
ปกวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
บรรณาธิการ วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความ
Open Submissions
Indexed
Peer Reviewed
Peer Review Process
วารสารวิชาพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน โดยทั้งผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมิน (Reviewer) จะไม่ทราบข้อมูลรายชื่อของกันและกัน (Double-blind review) โดยที่ผู้ประเมินจะพิจารณาประเด็นที่สำคัญของแต่ละบทความดังต่อไปนี้
1. ผลการวิจัยที่แสดงในบทความจะต้องเป็นผลงานที่แท้จริงของผู้นิพนธ์เอง และต้องหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงาน (Plagiarism)
2. วิธีการและการวิเคราะห์การทดลอง ต้องมีมาตรฐานทางเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ และจะต้องอธิบายในรายละเอียดอย่างเป็นระบบและสมเหตุสมผล นอกเหนือจากนี้แล้ว การเขียนผลการทดลองจะต้องอภิปรายอย่างดีและเพียงพอ สอดคล้องกับผลสรุปที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงสถิติอย่างเหมาะสม
3. การอภิปรายผลและการสรุปในบทความ ต้องมีข้อมูลที่ปรากฏรวมถึงเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเขียน บทความที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ควรเขียนด้วยภาษาทางวิชาการให้เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. บทความต้นฉบับ ต้องเขียนด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้มีความคงที่ของภาษาที่เลือกทั้งบทความ เช่น เลือกใช้ภาษาไทยในการเขียนทั้งบทความ และมีการแปลคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยอย่างเหมาะสม โดยมีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
5. งานวิจัยต้องดำเนินการตามมาตรฐานของหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์ควรบ่งชี้ว่า ได้ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการที่เป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
6. บรรณาธิการสามารถยุติการประเมินบทความของผู้ประเมิน หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือเงื่อนไข หรือเมื่อผู้ประเมินได้ตกลงที่จะประเมินบทความแล้ว ต่อมาพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถแจ้งบรรณาธิการโดยทันที เพื่อที่จะปฏิเสธการประเมินบทความนั้นต่อไป
สำหรับรายงานความเห็นผู้ประเมินบทความควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่
- ผลงานวิจัยมีความริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ซ้ำซ้อนกับงานที่ตีพิมพ์มาแล้ว และมีมาตรฐานทางวิชาการ
- ทำการวิเคราะห์ว่าบทความมีการค้นพบใหม่ด้านใดหรือไม่ บทความมีการอ้างอิงเอกสารหรือบทความที่ตีพิมพ์แล้วที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการสนับสนุนเนื้อความและผลการวิเคราะห์หรือไม่
- ผู้อ่านกลุ่มใดที่จะได้ประโยชน์จากการอ่านบทความและตรงตามกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านของวารสารหรือไม่
- บทความที่ประเมินสามารถนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยได้หรือไม่
- บทความถูกเขียนมาด้วยภาษาทางวิชาการที่มีการเรียงลำดับเนื้อเรื่องตามหลักตรรกะ และภาษาที่อ่านง่าย เข้าใจ และมีส่วนใดของการเขียนที่ควรปรับปรุงหรือไม่
- การบรรยายผลการทดลองเพียงพอที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์และสรุปผลการทดลองหรือไม่ หากไม่เพียงพอควรทำการปรับปรุงอย่างไร
- การบรรยายส่วนของวิธีการทดลองในบทความเพียงพอที่จะสามารถทำการทดสอบซ้ำ หรือพิสูจน์ความถูกต้องของการทดลองหรือไม่
Publication Frequency
กำหนดออกวารสาร ปีละ 4 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม
ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน
ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน
ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม
Open Access Policy
วารสารนี้สามารถเข้าถึงเนื้อหาทั้งหมดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีนโยบายที่ทำให้งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ได้รับการอ่านและสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับสากล
Publishing Ethics and plagiarism policy
กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารนี้ เป็นกระบวนการทำงานที่มีความเกี่ยวโยงอย่างเป็นระบบของ ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน บรรณาธิการ และฝ่ายประสานงานและจัดการ ดังนั้น เพื่อรักษามาตรฐานทางจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ และการทำงานอย่างมีมารยาทในวงการวิชาการ ฝ่ายประสานงานและจัดการจะทำงานกับบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินอย่างใกล้ชิด วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้กำหนดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละภาคส่วน ดังต่อไปนี้
Editors Responsibilities:
1. บรรณาธิการและ/หรือกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ และคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินขั้นสุดท้ายทุกบทความที่ได้มีการประเมินสำหรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
2. บรรณาธิการพึงรักษาไว้ซึ่งความโปร่งใสของการวิจัยด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และจะยินดีรับพิจารณาที่จะเพิกถอนการตีพิมพ์ หรือแก้ไขคำผิด หากได้รับการแจ้งและร้องขอจากผู้นิพนธ์
3. บรรณาธิการควรดำเนินการตัดสินใจพิจารณาต้นฉบับบทความ เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยปราศจากการตัดสินใจที่มีอคติใดๆ
4. บรรณาธิการควรประเมินบทความต้นฉบับบนพื้นฐานคุณค่าเชิงวิชาการ และปราศจากผลประโยชน์ทางการค้าหรือผลประโยชน์ส่วนตน
5. บรรณาธิการไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจาณาก่อนการตีพิมพ์
6. บรรณาธิการควรตรวจสอบโดยทันทีและอย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยการประพฤติผิดในการวิจัย ตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม
Reviewers Responsibilities:
1. ผู้ประเมิน ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความอย่างละเอียดเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และแจ้งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนดจากบรรณาธิการ
2. ผู้ประเมินทำการประเมินบทความต้นฉบับที่ได้รับในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจนของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำเสนอและการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของบทความ
3. ผู้ประเมินไม่ควรเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งมารับการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์
4. ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นอย่างอิสระได้ โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
5. ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการ เมื่อพบหลักฐานการกระทำผิดใดๆ ของจริยธรรมการวิจัยในบทความที่ทำการประเมิน
Authors Responsibilities:
1. บทความทุกส่วนที่ปรากฏในต้นฉบับบทความจะต้องเป็นงานใหม่ที่ได้มาจากข้อเท็จจริงจากการศึกษา ไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ และปราศจากการคัดลอกผลงาน
2. บทความไม่ควรถูกตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน หรือถูกส่งไปรับการพิจารณาในวารสารอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
3. ผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน
4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนกิตติกรรมประกาศให้ชัดเจน รวมถึงระบุแหล่งทุนวิจัยที่สนับสนุน
5. ข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรจะต้องได้รับการอนุญาตจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อน
6. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยหรือมีส่วน
ISSN: 2985-2145