Page Header

An Evaluation of Chaibadan Pittayakom School's Zero Waste School Project

Pichaya Kamkaew, Pikul Ekwarangkun

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการฯ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา 2) ประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการฯ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 3 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน ครูที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 43 คน และนักเรียน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบโครงการ แบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขยะ แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขยะรีไซเคิล แบบสอบถามพฤติกรรม และแบบวัดความตระหนัก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการในการดำเนินงานโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยการดำเนินงานกิจกรรมทั้ง 7 ดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ร้อยละ 100 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ พบว่า ทุกกิจกรรมมีปัญหาเหมือนกันคือ ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ แก้ปัญหาโดยครูผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งแผนงานให้ครูที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการได้ทราบล่วงหน้าเพื่อวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ 2) ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกประเด็นดังนี้ ด้านประสิทธิผล พบว่า (2.1) นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนร้อยละ 96.99 ขึ้นไป ในทุกกิจกรรม (2.2) ครูเห็นว่านักเรียนทุกคนมีพฤติกรรมที่ดีในการจัดการขยะและนักเรียนประเมินตนเองว่ามีการดำเนินการจัดการขยะเป็นประจำ (ทุกวัน/ทุกครั้ง) และ (2.3) นักเรียนมีความตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกข้อรายการ และด้านประสิทธิภาพ พบว่า (2.1) การลดลงของปริมาณขยะตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการคิดเป็นร้อยละ 60.58 (2.2) รายได้จากการขายขยะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.29 และ (2.3) ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อรายการ 3) ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ พบว่า ผู้บริหารควรมีการถอดประสบการณ์ความสำเร็จในการบริหารจัดการโครงการและจัดทำเป็นคู่มือเพื่อให้เกิดความยั่งยืน การกำกับติดตามการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องทั้งขับเคลื่อนให้มีการนำผลการประเมินไปใช้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการให้มากขึ้น ครูผู้รับผิดชอบโครงการควรมีการติดตามและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการ


Keywords


การประเมิน; โครงการปลอดขยะ

[1] Office of the National Economic and Social Development Council, The twelfth national economic and social development plan (2017-2021), Bangkok: Office of the Prime Minister, 2017. (in Thai)

[2] Thai Rath Online, "Guidelines for driving Thailand towards zero waste society," 2017. [Online]. Available: https://www.thairath.co. th/news/local/983770. (in Thai)

[3] P. Ritcharun, Project assessment techniques, Bangkok: House of Kermyst, Bangkok: House of Kermyst, 2012. (in Thai)

[4] R. Buason, Mixed Methods in Research and Assessment, Bangkok: Chulalongkorn University, 2012. (in Thai)

[5] P. Ritcharoon, Research methodology in social sciences, Bangkok: House of Kermyst, 2008. (in Thai)

[6] R. Tyler, Basic Principles of Curriculum and Instruction, Chicago: University of Chicago Press, 1950. (in Thai)

[7] M. Scriven, "Evaluation: Future tense," American Journal of Evaluation, vol. 22, no. 3, pp. 301-307, 2001. (in Thai)

[8] K. Anusorn, Success factors for community-based solid waste management: A case study of Wang Kong Village, Tambon Tuem Tong, Mueang Nan District, Nan Province., Master thesis, Public Administration, Mae Fah Luang University, 2015. (in Thai)

[9] P. Champanui, An evaluation of the recycled garbage Bank Project in schools under the office of Khon Kaen primary education service area 1., Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University, 2012. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -