Page Header

A Study of Appropriate Configurations for Rural Service Interchange A Case Study of Highway No. 35 (Rama II Road) and Rural Road 2055 Interchange

Worawit Manwong, Kittichai Thanasupsin

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบทางแยกต่างระดับบนจุดเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงชนบท สค.2055 2) สร้างแบบจำลองสภาพการจราจรด้วยโปรแกรมจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค และ 3) เสนอรูปแบบทางแยกต่างระดับที่เหมาะสมบนจุดเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงชนบท สค.2055 โดยรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษาและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบทางแยกต่างระดับเพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ นอกจากนี้ได้ใช้โปรแกรมจำลองสภาพการจราจรวิเคราะห์รูปแบบทางแยกต่างระดับและรูปแบบเดิมในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านวิศวกรรมมีค่าน้ำหนักความสำคัญสูงที่สุด (ร้อยละ 40) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากัน (ร้อยละ 30) และรูปแบบทางแยกต่างระดับที่เหมาะสมมากที่สุดมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เป็นการต่อเชื่อมแบบ semi directional ได้คะแนนมากที่สุดเท่ากับ 94.97 คะแนน และรูปแบบที่ 2 เป็นการต่อเชื่อมแบบ loop ได้คะแนนเท่ากับ 81.52 คะแนน โดยผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการก่อสร้างทางแยกต่างระดับบนจุดเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงชนบท สค.2055 เพื่อช่วยเพิ่มโครงข่ายการเดินทางจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกที่มีทางหลวงหมายเลข 35 เป็นโครงข่ายหลัก

Keywords


ทางแยกต่างระดับ; แบบจำลองสภาพการจราจร; กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์; ค่าน้ำหนักความสำคัญ

[1] K. W. Ogden, Safer Roads: A Guide to Roads Safety Engineering, Cambridge, GB, 1996.


[2] T. L. Saaty, The Analytic Hierarchy Process, McGraw-Hill, New York, 1980.


[3] S. Pumjean, A Study of Factor for the Budget Allocation in Construction Project Bangkok Metropolitan Administration, Bangkok: Kasetsart University, 2019. (in Thai)


[4] A. Janpanichsub, The Development of Decision Support System for Priority Setting of Large Highway Construction and Improvement Projects, Bangkok: King Mongkut’s University of Technology Thonburi, 2001. (in Thai)


[5] M. Chaosuan, Model of Interchange Configuration Selection with Analytic Hierarchy Process, Chiang Mai: Chiang Mai University, 2002. (in Thai)


[6] S. Semtuppa, Analysis of Factors of At-grade Intersection Improvement in Department of Highways with Analytic Hierarchy Process, Bangkok: King Mongkut’s University of Technology Thonburi, 2005. (in Thai)


[7] N. Sanchoo, A Study of Configuration of the Urban Grade Separation Intersections Case Study: Khae Rai Intersection – Highway 302 and Highway 306, Bangkok: Kasetsart University, 2009. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -