Page Header

Development of Potentiality Model for Entrepreneurship of Event Planning Business for Competition

Parinya Saknavee, Supatta Pinthapataya, Kanit Chaloeyjanya

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอี เว้นท์เพื่อการแข่งขัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการแข่งขัน และ 3) เพื่อพัฒนา คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการแข่งขัน การวิจัยเป็นแบบผสมผสานเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็น ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ และผู้บริหารธุรกิจอีเว้นท์ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ชุดคําถามการสัมภาษณ์ถึงโครงสร้างและ การประชุมสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (2) ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้จัดการ ในงานด้านการบริหารธุรกิจอีเว้นท์ และผู้ปฏิบัติงานอาวุโสในการธุรกิจอีเว้นท์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุด แบบสอบถาม ใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสํารวจด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการ แข่งขัน ประกอบด้วย 4 มิติ 12 องค์ประกอบ มิติที่ 1 ด้านการบริหารธุรกิจ ได้แก่ 1.1) บริหารช่องทางการขาย 1.2) บริหารลูกค้า 1.3) บริหารราคา 1.4) การจัดการสินค้า มิติที่ 2 ด้านการบริหารองค์กร ได้แก่ (2.1) การวางแผนงาน 2.2) การปฏิบัติงาน 2.3) การตรวจสอบ 2.4) การปรับปรุงและพัฒนา มิติที่ 3 ด้านการบริหารคน ได้แก่ 3.1) ภาวะ ผู้นํา 3.2) การจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการ และมิติที่ 4 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ 4.1) บุคลิกภาพและ ทัศนคติ และ 42) จรรยาบรรณในการทําธุรกิจ คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการ แข่งขัน ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การแนะนําการใช้คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ เพื่อการแข่งขัน ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการแข่งขัน ประกอบด้วย 4 ได้แก่ บทที่ 1 แนวทางการพัฒนาธุรกิจด้านการบริหารธุรกิจ บทที่ 2 แนวทางการพัฒนาธุรกิจด้านการบริหารองค์กร บทที่ 3 แนวทางการพัฒนาธุรกิจด้านการบริหารคน บทที่ 4 แนวทางการพัฒนาธุรกิจด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการแข่งขัน ได้รับการประเมินความเหมาะสมโดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมสนทนากลุ่ม และคู่มือแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ เพื่อการแข่งขันได้รับการประเมินความเหมาะสมในการนําไปใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์เพื่อการแข่งขันได้

Keywords


ศักยภาพ; ผู้ประกอบการ; อีเว้นท์เพื่อการแข่งขัน

[1] K. Kanchanaphokhin, "The New Definition of EventMarketing," 2001. [Online]. Available: http://regelearning.payap.ac.th/docu/th/203/content/news.htm. [Accessed 1 June 2007]. (in Thai)

[2] P. Scott and A. Cockrill, "Multi-skilling in Small and Medium-Sized Engineering Firms: evidence from Wales and Germany," International Journal of Human Resource Management, vol. 8, no. 6, pp. 807-824, 1997.

[3] Kasikorn Reserch Center, "Thai Event seeks AEC Market.," 2015. [Online]. Available: http://marketeer.co.th/archives/40675. [Accessed 14 January 2014]. (in Thai)

[4] P. Kotler, Marketing Management, Englewood Cliffs: Prentice Hall, 2003.

[5] E. W. Deming, Out of The Crisis, USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study, 1995.

[6] S.-I. Anunthawichak, "Developing Soft Skills in Work Practiced by Production Line Executive in Thai Food Processing Industry," Department of Industrial Business and Human Resource Development King Mongkut’s University of Technology North, Bangkok, 2018. (in Thai)

[7] L. J. Aaker, "(1997). Dimensions of brand personality.," Journal of marketing Research, vol. 34, no. 3, pp. 347-357, 1997.

[8] P. C. Green, Building Rebust Competencies, San Francisco: Jossey-Bass Ins, 1999.

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -