A Model Development of Process Innovation for Competitive Advantage in the Furniture Industry
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานต่อการสร้างนวัตกรรมของธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน 2) หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 3) พัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และ 4) ประเมินรูปแบบการสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าเชื่อมั่น รวม 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมด้วยสถิติแบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานต่อการสร้างนวัตกรรมของธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 3.63 2) ความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมในภาพรวมมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.37 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านนวัตกรรม และปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 24.40 (R2=.244) มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ (SEest) .529 3) ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สรุปว่า มีปัจจัยที่สำคัญ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านโครงสร้างธุรกิจ (2) ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร (3) ด้านองค์ความรู้ (4) ด้านเทคโนโลยี (5) ด้านวัฒนธรรมองค์กร และ (6) ด้านความต้องการผู้บริโภค และ 4) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการสร้างนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง โดยผลการประเมินความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.49 และผลการประเมินความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.49
Keywords
[1] Information and Communication Technology Center with Cooperation of The Customs Department, "Office of the Permanent Secretary Ministry of Commerce," [Online]. Available: http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNRecode&Option=3&Lang=Th&ImExType=1. [Accessed 14 May 2016]. (in Thai)
[2] International Trade Promotion Agency in Jakarta, "Department of International Trade Promotion Ministry of Commerce," [Online]. Available: https://www.ditp.go.th/contents_attach/147911/ 147911.pdf. [Accessed 14 May 2016]. (in Thai)
[3] T. Yamane, Statistics An Introductory Analysis, New York: Harper and Roe Publication, 1973.
[4] J. A. Schumpeter, The Theory of Economic Development, Boston: MA Harvard University, 1934.
[5] W. Sutthawart and P. Pasunon, "Factors Affecting Individual Innovative Behavior in The Office of Basic Education Commission," Veridian E-Journal Silpakorn University, vol. 1, no. 8, pp. 530-545, 2015. (in Thai)
[6] L. Keeley, H. Walters, R. Pikkel and B. Quinn, Ten Types of Innovation The Discipline of Building Breakthroughs, Stamford: Deloittte Development Limited Liability Companies, 2013.
[7] P. Kotler and K. L. Keller, Marketing Management, New Jersey: Pearson Education, 2012.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ISSN: -