Page Header

The Potential Development Model of Production Leaders for Creating Innovation in Automotive Parts Industrials

Taveewat Mahasiriapirak, Somnoek Wisuttipaet, Taweesak Roopsing

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตในด้านการ สร้างสรรค์นวัตกรรม 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 3) สร้างคู่มือ การพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้างานฝ่ายผลิต จากกลุ่มโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จํานวน 415 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพ หัวหน้างานฝ่ายผลิต มี 2 องค์ประกอบหลัก คือ 1.1) ต้านพฤติกรรมการดําเนินงานขององค์กร และ 1.2) ด้านคุณลักษณะ และบทบาทของหัวหน้างาน องค์ประกอบแรกประกอบด้วย 2 ปัจจัยย่อย คือ (1) การสื่อสารและการนําเสนอผลงาน และ (2) ทํางานอุทิศตนเพื่อองค์การ สําหรับองค์ประกอบที่สองประกอบด้วยคุณลักษณะ 6 ด้าน คือ (1) ด้านภาวะผู้นํา (2) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) ด้านการวางแผน (4) ด้านการสอนงาน (5) ด้านการสื่อสาร และ (6) ด้านแรงจูงใจ สําหรับผลการวิจัยที่ 2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิต มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จตามองค์ประกอบ หลักจํานวน 13 ปัจจัย ได้แก่ (1) จริยธรรม จรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ (2) ทักษะเป็นผู้นํา (3) ทําตนเป็นตัวอย่างใน อุดมคติของผู้ร่วมงาน (4) ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (5) การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา (6) ความคิดเชิงระบบและความคิดเชิงวิเคราะห์ (7) วางแผนและการจัดการ (8) การให้ความสําคัญกับการปรับปรุงพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพ (9) การสอน แนะนํา และให้คําปรึกษา (10) การทํางานเป็นทีมและการประสานงาน (11) การมีมนุษย์ สัมพันธ์ (12) ความกระตือรือร้นและมุมมองที่ดีเกี่ยวกับตนเองและองค์การ (13) ความสามารถในการบริหารการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และท้ายที่สุดผลการวิจัยที่ 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาหัวหน้างานโดยผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาหัวหน้างานที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 92.30 และมีความเป็นไปได้ในการ นําไปประยุกต์ใช้คิดเป็นร้อยละ 98.50 ส่วนผลการประเมินคู่มือการพัฒนาศักยภาพหัวหน้างานฝ่ายผลิตเพื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรม สรุปได้ว่า คู่มือที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 95.50 และ มีความเป็นไปได้ในการนําไปปรับใช้คิด เป็นร้อยละ 97.00

Keywords


อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์; รูปแบบการพัฒนา; หัวหน้างานฝ่ายผลิต; การสร้างสรรค์นวัตกรรม

[1] Thai Autoparts Manufacturers Association, "Structure custer automotive and parts," 2016. [Online]. Available: http://www.thai autoparts.or.th/. [Accessed 15 December 2016]. (in Thai)

[2] HIS, "Automotive estimates and Market line forecast," 2017. [Online]. Available: https://www. hurvitz-institute.tau.ac.il/wp-content/. [Accessed 25 December 2017].

[3] Ipsos Business Consulting, "Car manufacturing in Indonesia is predicted to make up ground on Thailand up to 2020," 2016. [Online]. Available: https://www.tyrepress.com/. [Accessed 5 December 2017].

[4] Krungsri Research, "Thai Production and Sales Forecast. Toyota, FTI, Forecasted," 2016. [Online]. Available: www.krungsri.com/bank/getmedia/5a37ca02-b012-4204-9e6e82051d5b1544/IO_ Automobile_2016_TH.aspx. [Accessed 25 December 2017]. (in Thai)

[5] S. Chamart, "Training module development for automotive part industry employees to reduce defectives in manufacturing processes," The Journal of KMUTNB, vol. 22, no. 3, pp. 669-677, 2012. (in Thai)

[6] Department of Industrial Works, "Industry Fact Sheet 2017," 2017. [Online]. Available: http//www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=spss60. [Accessed 10 October 2017]. (in Thai)

[7] T. Yamane, "Statistics : An Introduction Analysis," New York, Harpor and row, 1967.

[8] J. W. Gilley, S. A. Eggland and G. Maycunich, A Principles of Human Resource Development, Cambridge, MA: Perseus, 2002.

[9] T. Songkiat, Motivation affecting the performance of geographic information system of provincial electricity authority, Northern Area 3., Master of Business Administration, Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technol, 2011. (in Thai)

[10] V. Liewprasitkul, TQM living handbook: An executive summary, Bangkok: BPR & TQM Consultant Co., Ltd., 1997. (in Thai)

[11] S. Viwalaporn, Conflict: Creative Management, Bangkok: Ton Aor, 1993. (in Thai)

[12] T. M. Amabile, "How to Kill Creativity," Harvard Business Review, vol. 76, no. 9, pp. 77-87, 1998.

[13] B. F. Herzberg and B. B. Synderman, The motivation to work, New York: John Wiley and Sons, lnc., 1959.

[14] S. Tiyoa, Communication in organization, Bangkok: Thammasat University, 1987. (in Thai)

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -