Page Header

Development Model of Interactive Augmented Reality for Smart Classroom

Unchulee Suwattana, Wallop Pattanapong, Krismant Whattananarong

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย  ผลปฎิสัมพันธ์ของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อที่มีต่อรูปแบบปฏิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยที่เรียนวิชาเชื่อมโลหะ 1 จำนวน 24 คน ด้วย โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมุติฐาน t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบปฏิสัมพันธ์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการเรียนการสอน ผลผลิต ทรัพยากรทางการเรียน และผลย้อนกลับ  2) ผลการประเมินและรับรองความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ อยู่ในระดับมากที่สุด และปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนที่ใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะอยู่ในระดับมากที่สุด  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ดังนั้นรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษาได้


Keywords


รูปแบบปฏิสัมพันธ์; เทคโนโลยีเสมือนจริง; ห้องเรียนอัจฉริยะ

[1] Information Technology and Communication Centre, "Thailand Partners in Learning," 2015. [Online]. Available: http://www.sea 12.go.th/ict. (in Thai)

[2] W. Meesuwan, Development of Augmented Reality Media with Processing and Openspace3D, Bangkok: Chulalongkorn University Bookcenter, 2015. (in Thai)

[3] A. Harrow, A taxonomy of the psychomotor domain, New York: David McKay Company, 1972.

[4] V. Eduardo E, "Augmented Reality Interfaces for Mobile Environmental Monitoring," 2012. [Online]. Available: www.icg.tugraz.at /publications/augmented-realityinterfaces-for-mobile-environmeental-montiong. [Accessed 15 May 2015].

[5] M. Viloniene, "Infleuence of augmented reality technology quon pupils knowledge about human digest system: The experitment," 2009. [Online]. Available: www.eric.ed.gov/PDFS/ED503889.pdf. [Accessed 10 May 2016].

[6] S. Srithong and T. Wiriyanon, "The Development of Electronic Book about Mahasawat Ban Rao Department of Social Studies, Religion and Culture for Students in Grade 6," Technical Education Journal King Mongkut's University of Technology North Bangkok, vol. 6, no. 2, pp. 212-219, 2015. (in Thai)

 

 

 

 

 

 

 

 

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ISSN: -