การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดโต๊ะ-เก้าอี้เรียนระดับอนุบาลจากไม้ยางพาราโดยใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ
Design and Developed Product the Kindergarten Classroom Furniture with Rubber Wood Using Quality Function Development
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment; QFD) เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ในชั้นเรียนระดับอนุบาลจากไม้ยางพารา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในชั้นเรียนระดับอนุบาลให้ตอบสนองต่อกลุ่มผู้ใช้งาน ทั้งรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่ตรงต่อความต้องการ โดยเริ่มต้นดำเนินงานวิจัยนี้ด้วยการศึกษาข้อมูลการเรียนการสอนในห้องเรียนของนักเรียนอนุบาลเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการดำเนินงานวิจัย จากนั้นศึกษาเสียงความต้องการของผู้ใช้ และออกแบบแบบสอบถามเพื่อหาคะแนนความสำคัญในแต่ละความต้องการของผู้ใช้ นำข้อมูลความต้องการของผู้ใช้และคะแนนความสำคัญมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค QFD แยกออกเป็น 2 เมทริกซ์ คือ เมทริกซ์การวางแผนผลิตภัณฑ์โดยทำการแปลงความต้องการของผู้ใช้ไปเป็นความต้องการทางเทคนิค และเมทริกซ์การออกแบบชิ้นส่วนโดยทำการแปลงความต้องการทางเทคนิคไปเป็นข้อกำหนดคุณลักษณะของชิ้นส่วน และนำผลที่ได้ไปออกแบบทั้งทางด้านขนาด รูปแบบ รูปทรง สีสัน และขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ผลลัพธ์จากการดำเนินงานวิจัยแสดงให้เห็นการประยุกต์ใช้เทคนิค QFD ในการกำหนดคุณลักษณะของชิ้นส่วนซึ่งสามารถนำไปออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในชั้นเรียนให้มีรูปร่างและการใช้งานที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยพบว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่มีค่าความพึงพอใจเพิ่มขึ้นมากกว่าผลิตภัณฑ์เดิมในทุกคุณลักษณะ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เท่ากับ 4.373 คะแนน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผลิตภัณฑ์รูปแบบเก่ามีค่าเท่ากับ 3.437 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 22.233 เปอร์เซ็นต์
Abstract
This research introduces an application of Quality Function Deployment (QFD) for designed and developed product the kindergarten classroom furniture with rubber wood. The objective of this research is to design and building of classroom furniture for application. The destination of this research is to design shape and usability the device accord to user requirement. Methodology began by conducting a survey the instruction in the classroom of kindergarten student, which led to data for the specification of the sample group. In the secondary process, the collection of user requirement and design questionnaires to the calculation of importance score for each user requirement. The user requirement and importance score will be input data for QFD technique. The analysis of QFD technique divided in to 2 matrixes is product planning matrix that translate user requirement into technical requirement, and parts deployment matrix that translate technical requirement into parts characteristic. The results of this research found that consequence from QFD technique, the shape and usability of classroom furniture can reveal that the response to user requirement. The result of this research reveals that average satisfactory values of all category greater than old type product from 3.437 points to 4.373 points, which increased about 22.233 percent.
Keywords
Refbacks
- There are currently no refbacks.