อนาคตภาพของวิชาศึกษาทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558 - 2568) The Trend of General Education in Higher Education in the Next Decade (2015 – 2025)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอนาคตภาพของวิชาศึกษาทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558 – 2568) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญและเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไป รวมทั้งผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนวิชาศึกษาทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่ 8 ปี ขึ้นไปจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์โดยใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพของวิชาศึกษาทั่วไปจะเน้นการยึดหลักพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และความรู้ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม พัฒนากระบวนการคิด โดยใช้ทักษะทางปัญญาที่สูงขึ้น เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อสังคม เรียนรู้ เข้าใจปัญหาสังคม และตระหนักในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนินชีวิตที่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม เน้นความเกี่ยวข้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้เรียน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นองค์ความรู้เชิงประยุกต์ ที่มีการออกแบบกระบวนการสอนที่หลากหลาย และกำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานที่ชัดเจน โดยมีโครงสร้างของหลักสูตรจำนวน 30 หน่วยกิต เพียงพอแล้ว ส่วนการแบ่งสัดส่วนหน่วยกิตของกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปควรเป็นไปตามบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย
The objective of this research was to study the trend of general education in higher education institutions in the next decade (B.E. 2015 - 2025). Targets were 15 experts who were a significant part of and involved in general education arrangement and experts with 8 years’ experience or more of teaching general education in higher education institutions. The research instrument was questionnaire that was a 5-level rating scale. The data was analyzed using median and interquartile range. The results of this research revealed that the trend of general education would emphasize enhancing students to be excellent human beings in physical, mental, and cognitive aspect. They should develop their thinking process using higher cognitive skills. Also, it would emphasize encouraging students to have social responsibilities, examine and understand social issues, be aware of participation in problem solving, and have life skills in consideration of morality and ethics. Lastly, it would emphasize the relation between the contents and today’s social condition, students’ ways of life, and national and international social change. It should be applied knowledge that was designed with various teaching strategies and clear performance appraisal criteria. The course structure of 30 credits should suffice. Credit rationing of general education should be in line with each university context.
Keywords
Refbacks
- There are currently no refbacks.