การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Development of Manual for Self-awareness of Undergraduate Students
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (2) เพื่อสร้างคู่มือพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เก็บข้อมูลระดับการตระหนักรู้ในตนเอง จากนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตปราจีนบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 409 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบสอบถามการตระหนักรู้ในตนเอง ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นการสร้างคู่มือเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษา ในการจัดทำคู่มือครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและรวบรวมเทคนิคทางจิตวิทยาเพื่อนำมาใช้ในการสร้างกิจกรรม ทั้งจากเอกสาร ตำรา คู่มือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงร่างของคู่มือและรูปแบบการเขียนคู่มือ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้ประเมิน 3 คน ตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาสาระของคู่มือ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ คำแนะนำการใช้คู่มือ แนวทางการใช้คู่มือ แผนการจัดกิจกรรมใน “คู่มือพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี”
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี มีระดับการตระหนักรู้ในตนเอง อยู่ในระดับสูง (= 3.45, SD = 0.32) 2) คู่มือพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนา 8 ครั้ง ทั้งหมด 22 กิจกรรม
The objectives of this research were 1) to study the self-awareness level of undergraduate students, and 2) to develop the manual for self-awareness of undergraduate students. The research was divided into 2 phases. At the first phase, the researcher collected data of self-awareness level of undergraduate students at King Mongkut’s University of Technology North Bangkok both Bangkok campus and Prachinburi campus. The samples were 409 students who enrolled the general education in the subjects of humanities and social sciences and they were selected by the simple random sampling method. Research tools were questionnaires including 2 parts: personal factor and self-awareness. At the second phase, the manual of self-awareness was created with 4 steps. In the first step, the researcher studied related documents and collected psychological techniques in sheets, textbooks, manuals and related researches. In the second step, the researcher created an outline of the manual and fixed the format of the manual. In the third step, 3 experts assessed suitability of the manual content. In the fourth step, the researcher prepared the complete manual included cover, introduction, table of contents, manual instructions, guidelines for using the manual and activity plan in “An awareness manual for undergraduate students.” The result showed 1) undergraduate students had self-awareness at high level (= 3.45, SD = 0.32); 2) a self-awareness manual for undergraduate students consisted of 8 development programs included 22 activities.
Keywords
DOI: 10.14416/j.faa.2020.25.007
Refbacks
- There are currently no refbacks.