ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ
Psychological Factors Affecting the Burnouts of Personnel at the National Housing Authority
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงาน และปัจจัยทางจิตวิทยา แบ่งเป็น ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแสวงหาสิ่งสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบหลีกหนีปัญหา และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ บรรยากาศองค์การ และคุณลักษณะงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยากับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ และ (3) ศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานประจำสำนักงานใหญ่การเคหะแห่งชาติ จำนวน 267 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานการเคหะแห่งชาติมีภาวะหมดไฟในการทำงาน และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบหลีกหนีปัญหาอยู่ในระดับต่ำ พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา และคุณลักษณะงานอยู่ในระดับสูง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คือพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแสวงหาสิ่งสนับสนุนทางสังคม บรรยากาศองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยทางจิตวิทยา พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแสวงหาสิ่งสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม คือ บรรยากาศองค์การ และคุณลักษณะงาน มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน ส่วนพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบหลีกหนีปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา คุณลักษณะงาน และพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบหลีกหนีปัญหามีประสิทธิภาพในการทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานได้ ร้อยละ 49.60
The purposes of this study was to study (1) the burnouts and the psychological factors of the demographic factors i.e. problem-focused coping behaviors, social support coping behaviors, avoidance coping behaviors and achievement motivation and the environmental factors i.e. organizational climate and job characteristics of the personnel at the National Housing Authority (NHA) (2) the relationship between the psychological factors and the burnouts of the personnel under study. The researcher investigates and (3) the psychological factors influencing the prediction of the burnouts of the personnel under investigation. The samples consisted of 267 personnel performing work at the NHA Headquarters and they were selected by simple random sampling method. The research instrument was a questionnaire. The statistics used in data analysis were percentage and mean. The techniques of Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis were also employed. The results found that (1) the personnel under study exhibited burnouts and avoidance coping behaviors at a low level, problem-focused coping behaviors and job characteristics at a high level, achievement motivation, and environmental factors: organizational climate, and social support coping behaviors at a moderate level (2) the psychological factors: problem-focused coping behaviors, social support coping behaviors, achievement motivation, organizational climate and job characteristics negatively correlated with burnouts and avoidance coping behaviors positively correlated with burnouts at the statistically significant level of .01. and (3) achievement motivation, problem-focused coping behavior, job characteristics, and avoidance coping behavior exhibited an efficiency in the prediction of burnouts at 49.60 percent.
DOI: 10.14416/j.faa.2020.25.002
Refbacks
- There are currently no refbacks.