ความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับปัจจัยการบริหารองค์การและระดับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์ตามประเภทมหาวิทยาลัย รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 12,109 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัจจัยการบริหารองค์การและระดับความผูกพันต่อองค์การของมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ในระดับสูง ส่วนมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยมหาวิทยาลัยต่างประเภทกันส่งผลให้ระดับปัจจัยการบริหารองค์การแตกต่างกันและระดับความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ปัจจัยการบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์ทั้ง 3 กลุ่มมหาวิทยาลัย ได้แก่ เสรีภาพในการปฏิบัติงาน นโยบาย ภาพลักษณ์ ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับงาน และค่าตอบแทนและสวัสดิการ ส่วนปัจจัยการบริหารองค์การที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การของอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ ได้แก่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และ สิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ ได้แก่ เสรีภาพในการปฏิบัติงาน นโยบาย และความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับงาน และมหาวิทยาลัยเอกชน ได้แก่ นโยบาย และเสรีภาพในการปฏิบัติงาน
The Organizational Commitment of Thai University: A Comparative Study of Public Universities, Public Autonomous Universities and Private Universities in Bangkok Metropolis
The study was designed to compare the administrative factors, organizational commitment on types of the universities and to determine the administrative factors influencing the organization commitment of lecturers. The population was 12,109 lecturers. The 322 lecturers were randomly selected as the sample for the study by multistage sampling. The study instrument was a set of self-administered questionnaires. Data were analyzed for frequency, mean and standard deviation, Analysis of Variance and multiple regression analysis. The result showed the administrative factors of public universities were at a high level, whereas the administrative factors of the public autonomous universities and private universities were at a fairly high level. The organizational commitment level of public university lecturers was at a high level, whereas public autonomous university lecturers as well as the private university lecturers was at a fairly high level. Holistically and separately considered different types of universities differed in their administrative factors. Likewise, different types of universities differed in the organizational commitment of lecturers. The administrative factors influencing the organizational commitment of lecturers in the three types of universities included : freedom to work, policy, image, work-life balance, compensation and welfare. Separately considered the administrative factors influencing the organizational commitment of public university lecturers included: compensation and welfare, and environment of work. The administrative factors influencing the organizational commitment of public autonomous university lecturers included: freedom to work, policy, and work-life balance. Meanwhile the administrative factors conducive to the organizational commitment of the private university lecturers were policy and freedom to work.
Keywords
DOI: 10.14416/j.faa.20108.08.005
Refbacks
- There are currently no refbacks.