การพัฒนาสมรรถนะอาชีพในสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์
The development of professional competencies in general warehouse: Professional logistics
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพในสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์พัฒนาเครื่องมือการประเมินสมรรถนะอาชีพในสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์ และประเมินสมรรถนะของบุคลากรผู้ปฏิบัติในสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์ วิธีการวิจัยใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยวิธีวิจัยแบบศึกษาเฉพาะกรณี (Case study Research) และใช้ข้อมูลร่วมกับวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กับกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือก โดยเลือกแบบเจาะจง ซึ่งกลุ่มทดลองที่ใช้คือ ผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้าทั่วไป ระดับ 3 จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เชิงปฏิบัติการ แบบประเมินการปฏิบัติงาน สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตพฤติกรรม ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาสมรรถนะอาชีพในสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์ พบว่า หน้าที่หลักในสายงานคลังสินค้าทั่วไปมี 2 รายการ ได้แก่ จัดการคลังสินค้า และ จัดการเพิ่มมูลค่าของคลังสินค้า ส่วนหน่วยสมรรถนะในสายงานคลังสินค้าทั่วไป พบว่า หน่วยสมรรถนะหลักมี 11 รายการ และ หน่วยสมรรถนะย่อยมี 49 รายการ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์ ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้เชิงปฏิบัติการ แบบประเมินการปฏิบัติงาน สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ การสังเกตพฤติกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยมีผลของค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC: Item Objective Congruence) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งมีค่าความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 0.5 แสดงว่า เครื่องมือมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถนำไปใช้ในการประเมินได้ และการประเมินสมรรถนะของบุคลากรผู้ปฏิบัติในสายงานคลังสินค้าทั่วไป กลุ่มวิชาชีพโลจิสติกส์ มีผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในระดับคุณวุฒิชั้น 3 มี จำนวน 1 ท่าน จากจำนวนผู้เข้ารับการประเมิน 10 ท่าน เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีคะแนน ในสมรรถนะนำสินค้าเข้าสู่ที่จัดเก็บ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 65 มีคะแนนด้านความรู้และคะแนนภาคปฏิบัติค่อนข้างน้อย
คำสำคัญ : การพัฒนาสมรรถนะอาชีพ คลังสินค้าทั่วไป โลจิสติกส์
This research aims to develop logistics competencies in general warehouse professionals, develop performance evaluation tools in general warehouse competency and evaluate the performance of general warehouse professionals, logistics career group. Research methodology for this research and development used qualitative approach through a case study and experimental research. Experiment group was 10 general warehouse professionals at 3rd level of competency selected by purposive sampling. The instruments applied for data collection were applied knowledge examination, practical assessment, in-depth interview and observation. Results of the development of professional competencies in general warehouse suggest that professional functions in general warehouse composite of two items, including warehouse management and value added management. The units of competency in the warehouse show that there are 11 units and 49 sub-units. Developmental instruments used to evaluate the professional competence and professional qualifications in general warehouse: including of applied knowledge examination, practical assessment, in-depth interview and observation are appropriate at a high level. The result show the IOC (IOC: Item Objective Congruence) average of 1.00, which is consistent with the criteria established above 0.5 to indicate the assessment qualification of developmental instruments. The evaluation of professionals in general warehouse results that a total of 1 out of 10 persons who were assessed individually did not pass the criteria of instrument. Considering who were not qualified to pass. The obtained item of carrying the goods into storage was lower than the 65 percent and the knowledge and practical scores were quite low.
Keywords : The development of professional competencies, General warehouse, Logistics.
Refbacks
- There are currently no refbacks.