Page Header

การศึกษาการกำหนดนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย
The study of Thailand’s Climate Change Policy Formulation

เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์, จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ

Abstract


การศึกษาการกำหนดนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะ กระบวนการ และสาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล ด้านการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากระดับประเทศสู่ระดับปฏิบัติและท้องถิ่น โดยใช้การศึกษาข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น จำนวน 21 ท่าน และดำเนินการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าแบบผู้ให้ข้อมูลหลายกลุ่มและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า นโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยมีลักษณะเป็นนโยบายเชิงตั้งรับมีกระบวนการกำหนดนโยบายเกิดขึ้นใน 2 ระดับ คือการกำหนดนโยบายระดับชาติ และนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กันน้อยมาก นโยบายระดับชาติมีลักษณะการกำหนดนโยบายจากบนลงล่างโดยข้าราชการส่วนกลางที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนนโยบายระดับท้องถิ่นนั้น มีลักษณะการกำหนดนโยบายจากล่างขึ้นบน โดยเกิดจากวิสัยทัศน์และสภาพปัญหาในพื้นที่เป็นตัวเป็นแรงผลักดันในเกิดนโยบาย ซึ่งนโยบายในระดับชาติมีการกำหนดแผนงานเฉพาะ คือ “แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 -2593”แตกต่างจากการกำหนดระดับท้องถิ่นที่ไม่มีแผนงานเฉพาะแต่สอดแทรกอยู่ในภารกิจประจำ โดยอาศัยกฎหมายที่มีอยู่แล้ว แผนพัฒนาท้องถิ่นและงบประมาณประจำปีเป็นกลไกสำคัญ ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อรองรับการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ 

คำสำคัญ :  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การกำหนดนโยบายสาธารณะ  ประเทศไทย

The purpose of this study was to examine the conditions and processes of the Thai government policy  addressing climate change at both the national and local levels.  Apart from examining related documents, interviewswere used to collect the data.  The key informants were those involved in making policies at the national and local levels20 persons.  Triangulation technique was also used to cross-validate the data and analysis of data by content analysis.  The results of the study revealed that Thai government policy addressing climate change appeared to be a reactionary policy.  The formulation of policy was found to be of two levels, including national and local levels.  The policies formulated at these two levels were found to be related to each other at a very low level.  Specifically, at the national level, policy was formulated by a top-down approach and was made by government officers with specific expertise. Local policy, on the other hand, was made with a bottom up approach and was driven by vision and existing problems in the relevant areas.  Also, at the national level, there was a plan made specifically to address climate change which is called “Master plan to Address Climate Change, B.E. 2558-2593”.  In contrast, at the local level, no plans were specifically made to address climate change.  It was supposed to be part of the routine job stipulated by existing local legislationand was driven by local development plans and budget allocation for each fiscal year.  The relevant authorities at both national and local, should have an action plan for the implementation of the Master Plan.

Keywords :  Climate Change, Policy Formulation, Thailand


Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.