ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูปด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้น
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์หลักเกณฑ์ในการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูป และ 2) พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบของผู้ผลิตผลไม้แปรรูป ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ผลิตผลไม้แปรรูปในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามแบบเปรียบเทียบรายคู่ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินผู้ส่งมอบผู้ผลิตผลไม้แปรรูป ใช้การวิเคราะห์เชิงลำดับขั้นในการวิเคราะห์ ค่าน้ำหนักของหลักเกณฑ์โดยการเปรียบเทียบรายคู่ขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย วิเคราะห์ศักยภาพจากผลการประเมินผู้ส่งมอบวัตถุดิบผู้ผลิตผลไม้แปรรูปโดยใช้การประเมินตามค่าน้ำหนักของแต่ละหลักเกณฑ์โดยใช้เทคนิคการรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ มีค่าน้ำหนักมากที่สุด(0.489) รองลงมา คือ หลักเกณฑ์ด้านเวลา (0.281) หลักเกณฑ์ด้านราคา (0.149) และหลักเกณฑ์ด้านความน่าเชื่อถือ (0.081) ตามลำดับ หลักเกณฑ์ย่อยที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ การไม่เน่าเสียและสะอาด (0.291) ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์หลักด้านคุณภาพ รองลงมา คือ การบริการสะดวกรวดเร็ว (0.166) ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ด้านปริมาณ เพียงพอต่อความต้องการ (0.155) และราคาเหมาะสม (0.103) นอกจากนั้นอีก 8 หลักเกณฑ์ย่อยมีค่าน้ำหนักไม่ถึง 0.100 ได้แก่ มีบริการจัดส่ง การบริการของพนักงานขาย เส้นทางและระยะทางการขนส่ง การได้รับรองมาตรฐาน สามารถเจรจาต่อรองได้ ช่องทางการติดต่อ เงื่อนไขการชำระเงิน และระบบการขนส่ง ตามลำดับ
The objectives of this research covers: 1) synthesizing and standardizing criteria for the evaluation of fresh fruit suppliers for fruit processing manufacturers; and 2) developing a decision support system for assessing those suppliers. Information providers comprised fruit processing companies in Chanthaburi and Trat provinces. A pairwise ranking survey was used to explore respondents’ perceptions and to analyze essential elements for the supplier evaluation. Hierarchical analysis method was used for decision making. Through pairwise comparison, the analytical hierarchy process brought out preference information and assigned weights for specific items. Considering supplier selection criteria, quality aspect demonstrated the highest preference weight. (0.489), followed by the aspects of time (0.281), price (0.149), and credibility (0.081) respectively. The sub-criteria with the most significant weights were these dimensions: non-perishable and clean fruits. (0.291), convenient and fast service (0.166), market equilibrium, with no shortage of goods (0.155) and reasonable price (0.103). The sub-criteria with weights below 0.1 were revealed as follows: delivery service, sales representative customer service, route and distance in transportation, supplier accreditation, favorable terms with procurement supplier negotiations, multichannel/ omnichannel contact centers, payment terms, along with modes of transportation in logistics.
Keywords
[1] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร. (2565). สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. Tradereport. https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report.
[2] สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2561–2565 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2564). Chanthaburi. https://www.chanthaburi.go.th/news_devpro.
[3] อภิรดี สรวิสูตร. (2559) การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์: เปรียบเทียบแนวคิดและวิธีการระหว่าง SAW AHP และ TOPSIS. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8 (2), 180–192.
[4] Jaberidoost, M., Olfat, L., Hosseini, A., Kebriaeezadeh, A., Abdollahi, M., Alaeddini, M., & Dinarvand, R. (2015). Pharmaceutical supply chain risk assessment in Iran using analytic hierarchy process (AHP) and simple additive weighting (SAW) methods. Journal of Pharmaceutical Policy and Practice, 1(8), 1-10.
[5] Öztürk, D. (2017). Factors that Influence the Supplier Selection of Manufacturing Businesses. Journal of Research in Business and Management, 4(11), 18-24.
[6] Palha, R. P., & de Almeida, A. T. (2017). Food Supplier Selection: An Application of The Additive Veto Model. In Systems, Man, And Cybernetics (SMC), 2017 IEEE International Conference on (pp. 3630-3635). Canada: Banff.
[7] Tavana, M., Shaabanic, A., Di Capriod, D., & Amirie, M. (2021). An Integrated and Comprehensive Fuzzy Multicriteria Model for Supplier Selection in Digital Supply Chains. Sustainable Operations and Computers, 2(2021), 149 – 169.
[8] พีรภพ จอมทอง นพคุณ แสงเขียว พรรษกร รอดศรีสมุทร และชูศักดิ์ พรสิงห์. (2564). การคัดเลือกผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์เหล็กโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายเหล็ก. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31 (3). 384 – 394.
[9] พรรณนภา กาญจนเมธากุล. (2564). การจัดลำดับปัจจัยความสำคัญในการคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทพลาสติกชุบโครเมียมโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษาบริษัทประกอบรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
[10] กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์. (2565). การพัฒนาเครื่องมือการประเมินผู้ส่งมอบเชิงกลยุทธ์ กรณีศึกษาผู้ส่งมอบวัตถุดิบไม้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์. วิศวสารลาดกระบัง, 39 (2), 27 – 43.
[11] ธนะรัตน์ รัตนกูล, กันต์ธมน สุขกระจ่าง, นิอัสรา หัดเลาะ และอัญชลี ศรีรัตนา. (2561). ปัจจัยในการตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ในการจัดส่งวัตถุดิบอาหารทะเล กรณีศึกษา ร้าน ABC. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (หน้า 1429 – 1439). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
DOI: 10.14416/j.bid.2022.11.006
Refbacks
- There are currently no refbacks.