การศึกษาความต้องการสวัสดิการแบบยืดหยุ่นของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา:บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
Employee Preferences for Flexible Health Welfare Schemes: A Case Study of the Minor Food Group Public Company Limited
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและระดับความต้องการสวัสดิการแบบยืดหยุ่นของพนักงานในองค์กร บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับความต้องการสวัสดิการแบบยืดหยุ่นของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานในบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวน 187 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีสถานภาพโสด มีตำแหน่งงานเป็นเจ้าหน้าที่ และ อยู่ฝ่ายการตลาด ระดับความต้องการสวัสดิการแบบยืดหยุ่นของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับความต้องการสวัสดิการแบบยืดหยุ่นพนักงานที่มีสถานภาพที่แตกต่างกัน มีระดับความต้องการสวัสดิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยพบว่า พนักงานที่สถานภาพสมรส มีบุตร และไม่มีบุตร มีระดับความต้องการสวัสดิการแบบยืดหยุ่นมากกว่าพนักงานที่มีสถานภาพโสด
The objectives of this study were 1) to study personal factors and preferences on flexible health welfare schemes as perceived by employees at the Minor Food Group Public Company Limited; and 2) to find out role of different personal factors and employees’ preferences on the explored schemes. The study sample consisted of 187 employees working in the case study company. A questionnaire was used for data collection and the statistics to perform data analysis were percentage, frequency, mean, and standard deviation. The results of the study found that 1) the majority of respondents were below 25 year-old single women working in the marketing department. Employees’ overall needs for flexible health welfare plans was at a high level in this prioritized order: annual medical check-ups, vaccines and immunization, reimbursement of medical expenses for family welfare, and an additional dental coverage; 2) Personal factors, i.e. different individual status affects employee needs and preferences on flexible health welfare plans (*p < .05). Married staff members, both childless and those with parental status demonstrated greater needs for workplace benefits of flexible health welfare than the single counterparts.
Keywords
[1] พิชญ์พจี สายเชื้อ. (ม.ป.ป). Flexible Benefit เทรนด์ในดวงใจพนักงาน Gen Y. Prachachat. http://www.prachachat.net/ news_ sid=1429779177.
[2] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพ: วีอินเตอร์พริ้นทร์ กรุงเทพมหานคร.
[3] วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). พิษณุโลก สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[4] กัลยาณี คูณมี. (2554). การบริหารค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
[5] มนทกานติ มุญจนานนท์. (2559). การศึกษาผลของความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นของพนักงานในบริษัทข้ามชาติธุรกิจนาเข้าและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์. วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
[6] ปราณี ศรีสิริประเสริฐ. (2559). การศึกษาสวัสดิการและสวัสดิการยืดหยุ่นของพนักงานสายสนับสนุน. วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
DOI: 10.14416/j.bid.2022.11.003
Refbacks
- There are currently no refbacks.