การพัฒนาระบบการจัดเก็บและกระบวนการหยิบสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา: บริษัท จัดจำหน่ายสินค้าประเภทไอที จำกัด
Optimizing Storage Space and Order Picking in Warehouse Operations: A Case Study of an IT Product Distribution Company
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้า 2) พัฒนาระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้า และ 3) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้า โดยวิธีการวิจัยทดลองเชิงปฏิบัติการ กรณีศึกษาในบริษัท จัดจำหน่ายสินค้าประเภทไอที จำกัด จากการศึกษาระบบการจัดเก็บสินค้าและกระบวนการหยิบสินค้าด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล วิเคราะห์ปัญหาด้วยเทคนิคการระดมสมอง และแผนภาพแสดงเหตุและผล พบว่า ระบบการพนักงานใช้เวลาในการค้นหาสินค้าและหยิบสินค้านานเกินความจำเป็น เนื่องจากไม่มีการกำหนดรหัสโลเคชั่น และการจัดทำป้ายรหัสโลเคชั่น รวมทั้งไม่มีการบันทึกตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า และคู่มือในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้พนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง จากการนำการกำหนดรหัสโลเคชั่นให้กับ Selective Rack และ Micro Rack การจัดทำป้ายโลเคชั่นแบบบาร์โค้ด พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานหยิบสินค้า ผลการศึกษา พบว่า สามารถลดระยะเวลาในการหยิบสินค้า จากเดิมใช้เวลาหยิบสินค้าเฉลี่ย 315.53 วินาที ต่อรอบการหยิบสินค้า หรือ 5.15 นาที ต่อรอบการหยิบสินค้า หลังจากการปรับปรุงสามารถลดเวลาหยิบสินค้าเฉลี่ยเหลือเพียง 137.36 วินาทีต่อรอบการหยิบสินค้า หรือ 2.16 นาทีต่อรอบการหยิบสินค้า ซึ่งเวลาในการหยิบสินค้าลดลงถึง 178.17 วินาที หรือ 2.57 นาที คิดเป็นร้อยละ 56.46 และการมีคู่มือทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและรวดเร็ว ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
This research aims and objectives are 1) to investigate warehouse storage and order picking systems; 2) to improve these warehouse processes for increased operational efficiency; and 3) to develop a relevant procedure manual for employees. With an operational experimental research approach, the case study highlighted an examination of an IT product distributor. The investigation encompasses exploring warehouse storage and picking process flow charts, brainstorming for problem identification, and the use of cause and effect diagrams. As results, the time employees spent on retrieving and searching for products was found to be longer than necessary due to lack of warehouse location storage numbering scheme, no racking location code labelling, no location-based inventory records and no manual for employees. The operational steps incorporated assigning micro and selective racking location codes, generating barcode labels to place on each location, and creating an operations manual for staff. Post-intervention effects revealed a significant improvement in warehouse picking efficiency. The average picking time of 315.53 seconds (5.15 minutes) per item declined to 137.36 seconds (2.16 minutes). Therefore, the picking time decreased by 178.17 seconds (2.57 minutes), accounting for 56.46% time reduction. Additionally, the operations manual plays a noteworthy role in increasing employee productivity and efficiency in the workplace.
Keywords
[1] อชิระ เมธารัชตกุล (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
[2] ภานุพงศ์ ดารากัย และ ศักดิ์ชาย รักการ (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าในธุรกิจเครื่องกำเนิดไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1)
[3] สุนันทา อนันต์ชัยทรัพย์ ชุมพล มณฑาทิพย์กุล (2564). การปรับปรุงการจัดวางตำแหน่งสินค้าภายในคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ โคราช จำกัด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล, 9(2)
[4] ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. [โครงงานวิจัย, วิทยามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. Eresearch.
[5] รัชเก้า ธำรงธรรม และศุภกรณ์ เปี่ยมหน้าไม้. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บวัตถุดิบประเภทผ้า กรณีศึกษา บริษัทประยุกต์ สปอร์ตซัพพลาย จำกัด. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] ธัญกมล ทองก้อน และลภนภัทร ตุลยลักษณ์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา: โรงงานผลิตและจัดจำหน่ายแท็งก์น้ำ. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[7] เจนรตชา แสงจันทร์. (2562) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษา บริษัท แห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[8] วิยะดา ธนสรรวนิช (2558). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
[9] ปวีณ์กร นันทพล และโสภาวรรณ แย้มแสง. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท XXX. [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[10] สำนักแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา. (2563). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) 2563. สำนักแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ. สืบค้นจาก https://qao.payap.ac.th/assets/files/WIWP-Manual.pdf.
DOI: 10.14416/j.bid.2022.11.002
Refbacks
- There are currently no refbacks.