Page Header

ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย
Marketing Mix and Reference Group Factors Influencing the Decision to Purchase the Fender Brand of Electric Guitars of Thai Customers

Natapong Phasuk, Veerasak Prasertchuwong

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันด้านอายุมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 21.6 และปัจจัยกลุ่มอ้างอิง พบว่า กลุ่มเพื่อน กลุ่มผู้มีชื่อเสียงหรือศิลปินและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าแบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 26.1


The objectives of this research were: 1) to study the demographic factors influencing the decision to purchase the Fender Brand of electric guitars of Thai customers, 2) to study the marketing mix factors influencing the decision to purchase the Fender Brand of electric guitars of Thai customers, and 3) to study the reference group factors influencing the decision to purchase the Fender Brand of electric guitars of Thai customers. The results of demographic data analysis revealed that most of the respondents were male, aged 21-30 years, working as private company employees, had a bachelor's degree and had a monthly income of 10,001 – 20,000 baht. The results showed that the demographic difference in age influenced the difference in the decision to purchase the Fender Brand of electric guitars of Thai customers at the significant level of 0.05. The marketing mix factors with the differences in price and promotion influenced the difference in the decision to purchase the Fender Brand of electric guitars of Thai customers at the significant level of 0.05 with the predictive power of 21.6%. The differences in reference groups such as friend, celebrity/artist and expert influenced the difference in the decision to purchase the Fender Brand of electric guitars of Thai customers at the significant level of 0.05, with the predictive power of 26.1%.


Keywords



[1] Longtunman. (2019). ธุรกิจกีตาร์ กำลังฝันร้าย. https://www.longtunman.com/12554.

[2] Thaipbs. (2018). ธุรกิจ “กีตาร์” ทรงตัว คาดอีก 20 ปีคนเล่นลดฮวบตามอเมริกา. https://news.thaipbs.or.th/content/273560.

[3] Hanna and Wozniak (2001) Shiffman and Kanuk (2003). Consumer Behavior. New Jersey: Prentice Hall.

[4] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

[5] เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด.

[6] McCarthy, E.J. and Perreault, W.D. (1993). Basic Marketing: A Global-Managerial Approach. (11st ed). Homewood, Ill: Richard D. Irwin.

[7] ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

[8] อดุลย์ จาตุรงคกุล, และ ดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[9] Kotler Phillip. (2000). Marketing Management. New Jersey.

[10] Schiffman, L., & Wisenblit, J. (2015). Consumer Behavior. Boston. Pearson Education Limited.

[11] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.

[12] ศิริวรรณ เสรีรัตน์. และคณะ (2552). ส่วนประสมการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสารจำกัด.

[13] Tyagi, C. L., & Kumar, A. (2004). Consumer Behavior. New Delhi: Mehra Offset.

[14] Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John wiley & Sons.

[15] วัชริศ หาญสุทธิวงศ์ (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อกีตาร์ของประชาชนในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล.มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

[16] ก่อฤกษ์ ละอองกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหูฟังของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

[17] นราพงษ์ วันดี (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ศูนย์กรุงเทพ”มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

[18] ธันวาพล จันทร์จีน. (2559). ภาพลักษณ์และค่านิยมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้ากีฬาแบรนด์เนมของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2022.07.004

Refbacks

  • There are currently no refbacks.